Tag Archives: ดอกไม้สด

The good citizen – Dorkmai Sot

This short story, published shortly after the Second World War, is often anthologised as the best Dorkmai Sot wrote. Even though her description of countryside mores during the war is a bit wobbly at times, her alacrity and bonhomie are typical of the ‘queen of Thai romance’, whose most famous novel is ผู้ดี (Noblesse oblige), as are the often convoluted style and the implicit Buddhist message about the danger of interfering in other people’s lives. As we all know, the way to hell is paved with good intentions. MB

พลเมืองดี

The good citizen

rail1

cows-on-road1

ดอกไม้สด

DORKMAI SOT

TRANSLATOR’S KITCHEN
ขบวนรถไฟอันแน่นอัดไปด้วยคนโดยสารจนหาช่องว่างสำหรับเป็นทางเดินได้ยาก ออกจากสถานีหัวลำโพงเมื่อเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ได้แล่นเข้าชานชาลาสถานีอันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่งในเวลา ๑๘.๕๕ นาฬิกา ผู้โดยสารซึ่งมีสถานีนี้เป็นจุดหมายปลายทาง ต่างพากันเบียดแทรกผู้โดยสารด้วยกันอย่างเร่งร้อน เพื่อพาของของตนเองลงจากรถ เพราะรถจะหยุดที่สถานีนี้ไม่เกิน ๒ นาที แล้วก็จะแล่นต่อไปสู่จุดหมายเบื้องหน้า ครั้นเมื่อพ้นจากรถมาได้แล้วต่างคนก็หายใจได้สะดวกขึ้น เพราะรู้สึกว่าตนพ้นจากความตายมาได้วันหนึ่ง ต่อจากนั้นผู้ที่มีครอบครัวหรือพวกพ้องมาคอยรับก็ตรงเข้าไปหา ทักทายกัน ให้ข่าวสดเรื่องสงครามแก่กัน แล้วผู้ที่มีบ้านพักอยู่บนฝั่งเดียวกับที่ตั้งแห่งสถานี ก็ใช้เท้าเป็นยานพาหนะไปสู่ที่พัก ฝ่ายผู้ที่มีที่พักอยู่ทางอีกฝั่งหนึ่งแห่งแม่น้ำก็พากันไปลงเรืออันจอดคอยรับอยู่ที่ท่า The train, so packed with passengers that it was difficult to make one’s way past them, had left the Hua Lamphong station at 16:00 hours and stopped at a station next to a river at 18:55. Those passengers who had reached their destination hurriedly made their way through the throng to take their belongings out, as the train would only stop for two minutes before proceeding to the next station. Once out of the carriages, they all could breathe more easily, as they felt they had escaped death for the day. Those who had relatives or friends waiting made straight for them, greeted them, exchanged the latest news about the war, and then those whose abode was on the same riverbank as the station would simply walk to it, while those who lived across the river went to take the boats that awaited them at the pier. This old-fashioned, or rather military, way of telling the time (sixteen hundred hours) is part of the charm of the piece and should be preserved, though the temptation, I suppose, would be to convert it to ‘4pm’.

ผู้โดยสารซึ่งมีสถานีนี้เป็นจุดหมายปลายทาง: translating this literally would sound awkward; hence, ‘who had reached’.

เวลาที่กล่าวนี้อยู่ในต้นเดือนกรกฎาคม แห่งพระพุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นเวลาที่ศึกยุโรปได้ถึงที่สุดลงแล้วโดยเด็ดขาด และฝ่ายสหประชาชาติกำลังเร่งมือทำการทำลายข้าศึกทางด้านเอเชียอย่างขนานใหญ่ ชาวพระนครที่อพยพไปอาศัยตามชนบททั้งใกล้และไกลย่อมรู้ถึงความคับขันแห่งสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เป็นอันดี เหตุฉะนั้น การคอยเวลาที่รถหรือเรือจะพาบิดาสามีหรือบุตรกลับจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ในพระนครมาส่งถึงชนบทที่อพยพมาอาศัยอยู่ จึงเป็นกิจวัตรที่บั่นทอนความสงบแห่งใจของผู้ที่เป็นมารดาเป็นภรรยาหรือเป็นบุตรอยู่ทุกวัน This was taking place in early January 1945, at a time when fighting in Europe had come to a complete stop and the Allies were busy destroying their enemies in Asia in a big way. Those city dwellers that had fled to the countryside both near and far were well aware of the critical situation prevailing in Bangkok. Therefore, waiting for the time when train or boat would bring fathers, husbands or sons back from performing their duties in the capital to the countryside where they had taken refuge was a ro­­­utine which affected the peace of mind of those who were mothers, wives or daughters every day. ‘The time referred to here was at the beginning of the month of January in the Buddhist year 2488 etc.’: such a literal translation would be totally indigestible in English. The art of translation consists in knowing when to stick to and when to depart from a word for word approach. As a rule of thumb, a literal translation almost always works – except when it doesn’t! There are quite a few cases in this story where the exception tends to prove the rule.
นายหมายเป็นชาวพระนครคนหนึ่งที่ได้พาครอบครัวอพยพมาอยู่ยังชนบทนอกมณฑลกรุงเทพฯ ชนบทนี้ถ้ากล่าวโดยระยะทางก็เป็นที่ที่ใกล้กับความเจริญของกรุงเทพฯ เป็นอย่างมาก แต่ถ้ากล่าวโดยความเป็นอยู่ของชาวถิ่น ก็ดูไกลจากความเป็นอยู่ของชาวกรุงอย่างน่าพิศวง อาศัยเหตุนี้เอง ถึงแม้นายหมายจะเบื่อหน่ายการเดินทาง ซึ่งมีทั้งการฝ่าอันตราย เพราะ “รถไฟคือความตาย” ตามโวหารของฝ่ายสหประชาชาติ และมีทั้งความลำบากตรากตรำ เพราะต้องตื่นแต่มืด รีบลงเรือจ้างมาคอยจับรถไฟแล้ว และยืนเบียดคนโดยสาร รวมเวลาทั้งไปและกลับเกือบตลอด ๔ ชั่วโมง ทั้งนี้โดยไม่คิดถึงวันที่รถไฟต้องจอดซุ่มอยู่ตามระหว่างทางเป็นชั่วโมงๆ เพราะมีภัยทางอากาศ ถึงแม้กระนั้นนายหมายก็จำเป็นต้องเดินทางไปและกลับทุกเช้าเย็น เพราะการไปทำงานเป็นความจำเป็นในการเลี้ยงชีพ ส่วนการกลับมายังชนบท เป็นความจำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของครอบครัว และเกี่ยวกับขวัญของภรรยาซึ่งกำลังมีครรภ์อยู่ด้วย Mr Mai was a city dweller who had taken his family to the countryside outside of the Bangkok adminis- trative area. That countryside in terms of distance was very close to the modernity of Bangkok, but in terms of living conditions of the locals it looked surprisingly remote from those of Bangkok denizens. Mr Mai was relying on this, even though he was bored with the travelling involved, which faced peril, as ‘Trains mean Death’ according to the Allies’ slogan, as well as hardship, because one had to wake before dawn to hurriedly catch a ferry to go and wait for the train and then stand in the press of travellers for nearly four hours* either way, not counting the days when the train must remain stationary somewhere along the line for hours on end because of danger from the sky. Nevertheless, it was necessary for Mr Mai to come and go every morning and evening, as he needed to work in town in order to earn a living. And going back to the country daily was necessary for the safety of his family and for the morale of his wife who was pregnant at the time. .

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.
* This should read: ‘nearly three hours’ – see first sentence of the story.

เฉพาะวันนี้รถไฟได้พานายหมายมาถึงปลายทางตรงเวลา และดินฟ้าอากาศก็แจ่มใส ปราศจากพายุและฝนซึ่งเคยทำความเหน็ดเหนื่อยเปียกปอนให้แก่คนแจวเรือเกือบทุกๆ เย็นตลอด ๒-๓ สัปดาห์ที่แล้วมา แต่ทั้งนายหมายและนางสมจิตต่างได้ผจญกับความตื่นเต้นแล้วด้วยกันทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่เมื่อตอนกลางวัน เพราะ “๔ เครื่องยนต์” ได้มาเร่ร่อนอยู่บนฟ้าทั่วมณฑลกรุงเทพฯ และมณฑลภาคกลาง “เห็นปล่อยอะไรลงมาไม่รู้ เป็นลูกยาวๆ เสียงดังโพล๊ะเบ้อเร่อ” สมจิตบอกแก่สามีของหล่อนในขณะที่นั่งมาด้วยกันในเรือจากสถานีไปสู่ที่พัก “ชาวบ้านวิ่งออกหลังทุ่งไปตามๆ กัน ฉันเองยังเกือบไปด้วย ดีแต่เป็นห่วงบ้าน กลัวว่ากลับมาจะไม่มีอะไรเหลือ” Today at least the train took Mr Mai to his destination on time and the weather was fine, devoid of any storm or rain as had exhausted and drenched the ferry’s oarsman almost every evening in the past couple of weeks. But Mr Mai and Mrs Somjit each had faced excitement on their own since the middle of the day because a ‘four-engined’ had roamed the sky all over Bangkok and the Central region. ‘I saw it drop I don’t know what, some huge long thing that made a big bang,’ Somjit told her husband as they sat in the boat from the station to their place of abode. ‘All the villagers ran out of their fields at the back. I almost rushed out as well, but I worried about the house. I was afraid there’d be nothing left when I returned.’
“ได้ยินทหารเขาคุยกันที่สถานีรังสิตว่า ทิ้งใบปลิว” นายหมายตอบภรรยา แล้วเล่าต่อไป “กรุงเทพฯ เตรียมพร้อม แต่ไม่มีหวอ เพราะเครื่องบินอยู่สูงมาก แล้วก็หันเครื่องเดียว รู้ได้ว่าไม่มีอะไรนอกจากใบปลิว” ‘I heard soldiers at the Rangsit station saying they were dropping tracts,’ Mr Mai answered his wife and then went on telling her, ‘Bangkok was ready, but there was no alert, because the aeroplane flew very high and they could see there was only one, so they knew it was nothing except tracts.’
“ใครเก็บมาได้บ้างหรือเปล่า” สมจิต ถาม ‘Did anybody keep any,’ Somjit asked.
“ยัง ต้องพรุ่งนี้ซิ” สามี ตอบ ‘Not yet, not before tomorrow,’ her husband answer- ed.
นายอิ่มคนแจวเรือจ้างเอ่ยขึ้นว่า  “เห็นที่ตลาดเขาว่ากันว่า ทิ้งระเบิดที่บางไทร Mr Im, the oarsman, said, ‘At the market they were saying there were bombs dropped at Bang Sai*.’ * Bang Sai is a district of Ayutthaya province; this suggests that the story is taking place in Lopburi, 150 km north of Bangkok.
“อะไรกัน!” นายหมายค้าน “ไปทิ้งทำไมกันที่บางไทร มีอะไร” ‘Poppycock,’ Mr Mai protested. ‘Why should they bomb Bang Sai? What is there to bomb?’
“คงจะเป็นอ้ายก้อนยาวนั่นเองแหละค่ะ เขาว่ามันเป็นอะไรคล้ายๆ กระบอกสำหรับใส่ใบปลิว” สมจิตออกความเห็น ‘It must have been those long tubes. They say they are quite like those cylinders you put tracts in,’ Somjit opined.
ที่พักของนายหมายและนางสมจิตเป็นเรือนฝากระดาน หลังคามุงจากขนาดของเรือนกล่าวตามภาษาของชาวถิ่นว่า ๔ ห้อง ระหว่างห้องที่ ๓ กับห้องที่ ๔ มีฝาประจันห้องกั้น จึงเป็นห้องใหญ่อันมีฝา ๔ ด้าน มีหน้าต่าง ประตูครบตามความหมายว่าห้องของชาวกรุงห้องหนึ่ง ส่วนที่เหลือมีฝาเพียง ๓ ด้าน ด้านเหนือติดต่อกับห้องใหญ่ โดยประตูระหว่างฝาประจันห้อง ด้านหลังมีหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ด้านใต้ก็เช่นเดียวกัน ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งติดต่อกับเฉลียงซึ่งมีขนาดยาว ๔ ห้อง ขนานไปกับห้องที่มีฝากั้นนั้น Mr Mai and Mrs Somjit’s abode was a thatched wooden structure locally des­ig­nated as a ‘four-room house’ in size. Be­tween the third and fourth rooms there was only a partition, so it was one big room with walls on four sides, a window and a door per ‘room’ as understood by Bangkok people. As for the other two rooms, they had only three walls; facing north a door opened into the big room. The back wall had one window, the southern wall also. As for the front, it gave straight onto a porch which ran the length of the four rooms. This description of the house puzzled the translator and a dozen learned Thai friends until his foreign editor, from the evidence provided in the English version, came up with a plausible arrangement of the various rooms, doors and windows – and adjusted the text accordingly (see below)!
ด้านหน้าแห่งเฉลียงนี้ติดต่อกับนอกชาน ซึ่งยาวเท่ากับเฉลียง และต่ำกว่าพื้นเฉลียงประมาณครึ่งศอก ด้านข้างแห่งนอกชานทั้งด้านเหนือและด้านใต้เปิดโล่ง ไม่มีเครื่องกั้นและเครื่องกำบัง ด้านหน้าก็เช่นเดียวกัน บันไดไม้ประมาณ ๖ ศอกเศษ ตั้งพิงอยู่กับพื้นนอกชานนี้เป็นที่เดินหรือจะกล่าวให้ตรงทีเดียว เป็นที่ไต่จากเรือนลงสู่พื้นดิน The front of the porch looked onto the house platform which was as long as the porch, but lower by about half a cubit. The northern and southern sides of the platform had nothing to conceal it or fence it in; neither did the front side. Wooden stairs a good six cubit high linked the platform to the ground. ‘A good six cubit’ = approximately three metres, which is inordinately high for a Thai house platform.
บนท้ายนอกชานด้านใต้ มีครั้วน้อยพื้นฟาก ฝาฟาก หลังคาจากกว้างยาวประมาณ ๔ ศอก มีช่องประตูพอดี ขนาดตัวคนเข้าออกได้ และมีบานประตูเพียงบานเดียวทำด้วยฟากเช่นเดียวกับฝา สำหรับปิดกันสุนัขมิให้เข้าลักของในครัว สำหรับสัตว์อื่นที่มีขนาดตัวเล็กกว่าสุนัข หรือสำหรับคนซึ่งมีมือผลักหรือดึงบานประตูให้แยกจากกรอบได้ ประตูนี้ย่อมไม่มีความหมายอย่างใดเลย At the far end of the platform on the southern side there was a small kitchen with thatched flooring, walls and roof, of about four cubits by four, with a doorframe just large enough for someone to enter or exit, and there was only one door, also made of thatch, kept closed to prevent dogs from raiding the kitchen. For animals smaller than dogs or people with hands to push or pull it open, that door had no meaning whatever. .
Map of the house (© Gabrièle Kilian)
เมื่อเรือจ้างแจวมาถึงสะพานอันประกอบด้วยเสาไม้กระบอก ๖-๗ ลำและไม้กระดานปุปะ ๑ แผ่น เด็กชายอายุ ๔ ขวบกว่าๆ ซึ่งเป็นบุตรของนายหมายและนางสมจิตก็วิ่งออกมาเต้นอยู่ตามริมนอกชานด้านหน้าเรือน อันเป็นที่มองเห็นเรือได้แต่ไกล ทำให้นางสมจิตร้องเอะอะด้วยความหวาดเสียว และทำให้นายหมายต้องโดดจากหัวเรือขึ้นบนสะพาน ทั้งที่เรือยังมีทันเข้าเทียบท่าจากสะพานนายหมายก้าว ๒-๓ ทีก็ถึงบันไดเรือน เขาเอ็ดพลางโบกมือพลาง ให้ลูกถอยหลังเข้าข้างใน แล้วตัวเองก็รีบปีนบันได ๕ ขั้นขึ้นบนเรือน The ferry reached the footbridge made of six or seven round pillars topped by a single patched-up plank. A boy just over four, who was the couple’s son, ran forward, prancing along the edge of the platform at the front of the house, from which the ferry could be seen from afar, which had Mrs Somjit shouting in alarm and Mr Mai jumping off the boat onto the footbridge even before the boat had properly come alongside it. Mr Mai in a few steps reached the house stairs. He yelled as he waved to his child to move back, and then he rushed up the five stairs to the house.
เมื่อหายตกใจแล้ว สมจิตตะโกนขึ้นไปยังสามีว่า  “ตาอิ่มแกถามว่า พรุ่งนี้จะให้แกมารับไหม” When she was over her fright, Somjit shouted at her husband, ‘Old Im is asking if he must come and fetch us tomorrow.’ ตา: usually ‘maternal grandfather’; in familiar terms, any old man.
“รับไปไหนกัน” นายหมายย้อนถาม ‘Where to,’ Mr Mai asked back.
“ก็สมว่าจะไปช่วยแม่แย้มบวชลูกชายไม่ใช่หรือ” ‘Didn’t I tell you I’d go and help Mother Yaem with her son’s ordination?’
“อ้อ ก็จิตว่ายังไงล่ะ” ‘Oh … Well then, what do you say?’
“ฉันยังไม่แน่ อย่าเอาฉันเป็นเกณฑ์เลยน่ะ แล้วแต่สมเถอะ ถ้าสมจะไปแน่ ก็สั่งให้แกมา” ‘I’m not sure yet. Never mind me. You decide. If you want to go, then I’ll tell him to come round.’
“ฉันตั้งใจไว้ว่าจะลงเรือไปกับพวกเจ้าของงานเขาทีเดียว แต่ถ้าเผื่อจิตไปด้วย มันอาจจะไม่สะดวกเพราะเรือมันคงแน่น แล้วอาจจะต้องตากแดด” ‘I meant to take the boat along with the people organising the ceremony actually, but if you come too, it might be uncomfortable, because the boat will be packed and we might have to stay in the sun.’
“ตกลงว่ายังไงกัน” น้ำเสียงของสมจิตแสดงความรำคาญเล็กน้อย ซึ่งนายหมายรู้สึกในทันที เพราะตั้งแต่อพยพมานี้ สมจิตออกจะกลายเป็นคนขี้รำคาญมากอยู่สักหน่อย เขารีบตอบไปว่า “จิตสั่งแกก็แล้วกัน ยังไงก็ยังงั้น” แล้วก็ก้มลงจับมือลูก จูงไปนั่งที่ริมระเบียง ‘So, what is it to be?’ Somjit’s tone hinted at irritation, which Mr Mai perceived at once because, since she had taken refuge here, his wife often sounded on edge. He hastened to answer, ‘Tell him to come, and that’s that,’ then he bent over, took his son by the hand and led him to sit down by the edge of the porch.
เขาก้มลงแก้เชือกผูกรองเท้า ลูกชายตรงเข้าช่วยแก้ นายหมายก็วางมือให้ลูกชายทำ ตามองไปทางเบื้องหน้าพลางนึกถึงงบประมาณค่าไม้ไผ่ หรือค่าแผงที่จะใช้เป็นรั้วหรือฝากั้นริมนอกชานพอกันมิให้ตัวเล็กลอดได้ เขากับภรรยาได้ปรารภกันถึงเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่เมื่อนึกถึงจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายในการนี้ ก็ทำให้เกิดความลังเลขึ้นทุกคราว นอกจากความกระเหม็ดกระแหม่ด้วยความจำเป็น เพราะรายได้ประจำเดือนไม่พอกับรายจ่าย จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็น “ผู้ค้าของเก่า” คือขายอาภรณ์และเครื่องเรือนของตัวเองเพื่อได้เงินมาช่วยในการเลี้ยงชีพ ทั้งนายหมายและสมจิตมีความหวังว่าตนเองจะได้อพยพกลับไปอยู่ในพระนครในเร็ววัน ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้จากลูกกรงหรือฝาก็จะไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป เขาคิดเช่นนี้มาตั้งแต่แรกที่อพยพมาถึง และเมื่ออาทิตย์ก่อนก็ยังคิดอยู่เช่นนั้น แต่ในครู่ที่แล้วมาความเสียวไส้ที่เห็นลูกชายเต้นอยู่ริมนอกชาน ทำให้เขาต้องคิดเรื่องแผงเรื่องลูกกรงขึ้นมาอีกครั้ง He bent down to unlace his shoes. His son undertook to help him. Mr Mai let him do so, his eyes staring ahead as he thought of the cost of bamboo or of the plaited screen he would use to erect a fence or partition around the platform to prevent the little one from falling off. He and his wife had talked about that many times already, but the thought of the amount of money that would need to be spent in the venture had made him hesitate every time. Besides the need to be thrifty because his salary wasn’t enough for current expenses, which had forced him to be a ‘seller of old things’, that is selling apparels and household implements from his own house to generate enough money to make ends meet, both Mr Mai and Somjit had the hope of returning to the capital in the near future, so the relevance of a fence or handrail might not justify the outlay. He had thought like this since they first took refuge here and last week was still thinking like that, but a moment ago the scare he felt at seeing his son prancing at the edge of the platform got him thinking again about a screen or balustrade.
นอกจากเรื่องเครื่องกั้นรอบนอกชาน ยังมีเรื่องห้องน้ำอีกเรื่องหนึ่งซึ่งนายหมายกับสมจิตได้ปรารภกันว่า ควรจะทำขึ้นหรือไม่ตั้งแต่วันแรกที่มาถึง และจนบัดนี้ก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในชนบทนี้ บ้านทุกบ้านย่อมปลูกอยู่ในระหว่างที่ใกล้ริมฝั่งน้ำอันใหญ่ยาว และไหลขึ้นไหลลงโดยแรง กับป่าละเมาะอันติดต่อกับทุ่งอันกว้าง กิจวัตรใดที่ชาวกรุงจำเป็นต้องกระทำในที่เฉพาะอันมิดชิด ชาวถิ่นนี้ย่อมกระทำได้ตามริมฝั่งแม่น้ำหรือตามป่าละเมาะหรือตามทุ่งนา เหตุฉะนั้นห้องน้ำจึงเป็นสิ่งที่เกินความต้องการของชาวถิ่นนี้ ทั้งเป็นสิ่งที่ชาวถิ่นนี้กล่าวว่า เขาไม่ชอบใช้หรือใช้ไม่เป็นทีเดียว Besides the matter of a fence around the platform, there was also that of the bathroom: Mr Mai and Somjit had talked of the need to build one since they first took refuge here and still couldn’t agree about it. In these parts all the houses were built between the river, which was wide and long and whose waters were swift, and the groves adjoining the expanse of fields. The business that city dwellers had to perform in specific confined places the locals performed by the riverside or in the bushes or in the fields, thus a bathroom was more than they required, and furthermore they claimed they didn’t like it or wouldn’t know how to use it.
เมื่อนายหมายผลัดเครื่องแต่งกายแบบตรวจราชการออกแล้ว เขานุ่งผ้าอาบ มีผ้าเช็ดตัวห้อยบ่า ใส่“เกี๊ยะ” ปากคาบบุหรี่ อุ้มลูกชายลงจากเรือนไปยังสะพานเพื่อจะอาบน้ำ ส่วนสมจิตสวนทางขึ้นไปบนเรือน แล้วก็ตรงเข้าครัวจัดแจงยกอาหารออกมาตั้งที่ระเบียง แล้วก็นั่งคอยเพื่อให้สามีและบุตรมารับประทานพร้อมกัน ระหว่างนี้นายคล้อยเจ้าของเรือนที่สมจิตเช่าอยู่ก็ขึ้นบันไดมา มีร่างกายสะอาดสีหน้าชื่นบาน เพราะได้อาบน้ำเสร็จมาใหม่ๆ นั่งลงบนนอกชานดูดบุหรี่ใบจากที่คาบอยู่และอัดควันเสียงดังซี๊ดยาว แล้วถามขึ้นด้วยเสียงของผู้ที่คุ้นเคยกับเจ้าของบ้านเป็นอย่างดี“ยังไม่ได้กินข้าวอีกหรือ ผมเสร็จไปนานแล้ว” When Mr Mai had taken off his civil servant uniform, he tied a length of cloth round his waist, slipped a towel over his shoulder, his feet into wooden sandals and a cigarette between his lips, took his son in his arms and went out of the house to the footbridge in order to take a bath. Somjit passed them on her way to the house and then went straight to the kitchen to prepare a food tray which she took to the platform where she sat waiting for her husband and son to come back and eat together. Meanwhile, Mr Khloi, the owner of the house Somjit rented*, came up the front stairs. He had a clean body and a beaming face because he had just bathed. He sat down on the platform, puffing away at the banana- leaf cigarette in his mouth and noisily expelling a long trail of smoke, and then asked in the voice of someone familiar with the lady of the house, ‘Haven’t you eaten yet? I’ve long done so.’ .

Note how ‘slipped’ conveniently stands for three verbs, นุ่งมี and ใส่.The next sentence, about Somjit, is quite a feat in exposition.

.

.

.

.

.

.

.

.

* In middle to upper class Thai families, it’s often the wife who runs the family budget and puts down her name for such things as rentals.

“ไม่ได้ไปกินเลี้ยงกับเขาที่ข้างบ้านหรอกหรือ” สมจิตย้อนถาม “เสียงโขลกอะไรกันลั่นไปตั้งแต่บ่าย” ‘Aren’t you eating with the others at your neighbour’s party,’ Somjit asked. ‘There’s been pounding going on since early afternoon.’
“ที่บ้านยายแย้มน่ะหรือ เห็นถ้าจะโขลกขนมจีน ผมไม่ได้ไปหรอก ที่บ้านเขาไปช่วย ผมไปดูนาเพิ่งกลับ พรุ่งนี้จะไปช่วยเขา” ‘At Old Yaem’s house, you mean? I think they’re making rice-flour noodles. I haven’t been there. My wife has. I went to look at the rice field and have just come back. I’ll go there tomorrow.’ ยาย: same remark as above: usually ‘maternal grandmother’ but familiarly any old woman.
“พรุ่งนี้คุณหมายว่าจะไปช่วยเขาตอนบวชเหมือนกัน” สมจิตบอก “แต่ตัวฉันเองยังไม่แน่ ถ้าแม่เพิ่มจะไปฉันก็ไปไม่ได้ เพราะน้าอุ่นแกไม่กล้าอยู่บ้านคนเดียว แกกลัว” My husband says he’ll go there tomorrow too to help with the ordination,’ Somjit told him. ‘But today, for me I don’t know yet. If Young Pherm goes, I can’t go, be- cause Auntie Un won’t dare to stay home alone, she’s afraid.’ Somjit gives her husband face by calling him คุณหมาย (Khun Mai), but that wouldn’t go down well in English. Hence ‘my husband’.
“แม่เพิ่ม” ที่สมจิตกล่าวนี้ คือน้องภรรยาของนายคล้อยซึ่งได้มาเป็นผู้ตักน้ำ และช่วยในงานเบ็ดเตล็ดบางอย่างของนายหมายและนางสมจิต ตั้งแต่แรกที่ครอบครัวนี้มาเช่าบ้านนายคล้ายอยู่ ส่วน “น้าอุ่น” เป็นญาติห่างๆ ของมารดาของสมจิต เป็นคหบดีผู้มีทั้งสามีและบุตร รวมทั้งเคหสถานอันเป็นหลักแหล่งอยู่ในกรุงเทพฯ แต่จำเป็นต้องทิ้งครอบครัวอพยพมาอยู่กับสมจิตในถิ่นนี้ เพราะเสียงสัญญาณภัยทางอากาศทำให้มืออ่อนถึงกับลูกหลานต้องอุ้มเข้าหลุมหลบภัยทุกคราว The ‘Young Pherm’ Somjit men- tioned was Mr Khloi’s wife’s younger sister who had come to help Mr Mai and Mrs Somjit with water supply and other minor tasks from the moment their family rented the house. As for ‘Auntie Un’, she was a distant relative of Somjit’s mother, who had husband and son, as well as a permanent abode in Bangkok, but who had been forced to leave her family to take refuge with Somjit here because the sirens warning of aircraft raids made her shake so much she had to be carried into the air raid shelter every time.
นายคล้อยตอบคำของสมจิตว่า “กลัวอะไร กลางวันแสกๆ ใครมันจะกล้ามาทำอะไรได้” Mr Khloi answered Somjit’s words with ‘What is she afraid of? In broad daylight, who’d dare to do anything?’
“ก็นายคล้อยกับคนที่นี่เองแหละทำให้แกกลัว วันสองวันมีเรื่องปล้นเรื่องจี้มาเล่าเสียทีหนึ่งเสมอ อย่าว่าแต่น้าอุ่นเลย ฉันเองเวลามีอ้ายตุ๊กๆ ใครๆ วิ่งออกหลังทุ่งกันหมดก็ชักใจเสียเหมือนกัน กลางวันหรือกลางคืนถ้าเราอยู่คนเดียวก็ไม่น่าไว้ใจทั้งนั้นแหละ” ‘It’s you and the people here that scare her. Every other day there’s news of robberies. It isn’t just Auntie Un. I myself, whenever there are three- wheelers or people all running out at the back of the fields, I’m alarmed as well. Be it in the daytime or at night, staying alone you can’t be confident at all.’
“เมื่อกลางวันนี้มีตุ๊กๆ หรือเปล่า ผมอยู่นาไม่ได้ยิน เห็นแต่เครื่องบิน…” ‘Were there three-wheelers this noon or not? I didn’t see any. I only saw a plane…’
“ที่นี่ก็ไม่มีใครได้ยินเสียงกลองเสียงระฆัง เสียงเอะอะที่บ้านแม่แย้มคงกลบเสียงหมด แต่ถึงอย่างไรก็มีคนจัดแจงวิ่งออกหลังทุ่งกันแล้วละ ฉันเองก็เกือบไป ดีแต่เป็นห่วงของ” ‘Here nobody hears drums or bells. The din at Mother Yaem’s house covers everything. But for all that there were people getting ready to run out back of the fields. I almost rushed out too, but I worried about our things.’
“ทางนี้ไม่มีใครบังอาจมาขโมย” นายคล้อยพูดพลางหัวเราะอย่างมั่นใจ “แล้วคุณแกมีของดี คนที่นี่กลัวปืนทั้งนั้น รู้ว่าที่ไหนมีปืนก็ไม่อาจ” ‘Over here nobody would come and steal,’ Mr Khloi said, laughing confidently. ‘And then your man has a deterrent. Everybody here is scared of guns. They know that wherever there are guns they’d better desist.’
ขณะนั้นเองนางอุ่นก็โผล่ออกมาจากครัว เดินพลางเช็ดมือพลางและกล่าวกับนายคล้อยว่า “เวลาพ่อสมเขาอยู่…พ่อหมายน่ะ ไอ้ฉันก็เรียกเขาผิดทุกที เวลาพ่อหมายเขาอยู่ ฉันก็ไม่กลัว ฉันกลัวเวลาเขาไม่อยู่ต่างหาก” Right then, Auntie Un came out of the kitchen, drying her hands as she walked, and told Mr Khloi, ‘When Young Som is here … uh, Young Mai – oh, I get his name wrong every time. When Young Mai is here, I’m not afraid. It’s when he’s not here that I am.’
“ถึงไม่อยู่ก็ไม่เห็นน่ากลัว ผมบอกแล้วแถวนี้ไม่มีใครบังอาจมาทำไม” ‘Even when he’s not here, there’s nothing to fear, I say. I told you already: around here nobody would dare to do anything.’
“เอาอีกละ” นางอุ่นทำเสียงเอ็ดเล็กน้อย “ว่าไม่มีใครกล้า แล้วทำไมพอค่ำลงต้องบังคับให้ปิดหน้าต่างจนหมดสิ้น จนนอนในห้องไม่ได้ ร้อนจะตับแตกตาย พอถึงเวลายังงี้ละก็ว่าไม่น่ากลัว” ‘Here we go again.’ Mrs Un’s tone of voice was a little shrill. ‘You say nobody would dare. Then why is it that at nightfall we must close all the windows so that we can’t sleep, it’s so hot inside we could die. And at a time like this you say there’s nothing to fear.’
นายคล้อยหัวเราะแหะๆ แล้วก็นิ่งอยู่ แกเป็นผู้ที่ไม่เคยกับการโต้แย้งในเรื่องใดๆ ถึงแม้จะมีเหตุมีผลอยู่ในใจอย่างแจ่มแจ้ง ก็หาสามารถแสดงออกเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยไม่ Mr Khloi ah-ah’d and then was silent. He was someone who wasn’t used to arguing about anything. Even though he had clear reasons in mind, he was incapable of translating them into words for other people to understand.
นางสมจิตซึ่งเข้าใจเหตุผลของนายคล้อยดีอยู่ จึงอธิบายแทน “ลุงคล้อยแกกลัวเรื่องย่องเบาลักเล็กลักน้อย แกกลัวว่าเวลาเราหลับกันหมด นักเลงย่องเบามันจะปีนหน้าต่างสอยเอาเสื้อผ้าหรือล้วงเอาอะไรไปได้ แต่เรื่องปล้นเรื่องขโมยกันอย่างจริงๆ จังๆ แกไม่กลัว เพราะบ้านเรามีปืน” Mrs Somjit, who understood him well, thus explained instead: ‘Uncle Khloi is afraid of petty larceny. He’s afraid that when we are all asleep, small-time burglars will climb the windows to pilfer our clothes or whatever they can take away, but being robbed in a big way, he isn’t afraid of that, because we have a gun in the house.’
แล้วสมจิตถือโอกาสที่จะแสดงเหตุผลให้ญาติของตนคลายความขลาดลงบ้าง หล่อนพูดสืบไปว่า “ที่จริงบ้านเราก็อยู่กลาง พวกบ้านข้างบ้านหลังก็รู้จักกันดีทุกคน แล้วเวลากลางคืนพวกผู้ชายต้องตื่นบ่อยๆ ลงไปดูวัวใช่ไหมลุงคล้อย” And then Somjit took the op- portunity to reason with her relative to lower her apprehension. She went on saying, ‘Actually our house is in the middle. We know everyone in the neighbouring houses, on the sides and at the back. And at night the men must wake up often to go and check on their cattle – isn’t that so, Uncle Khloi?’
“ผมน่ะนอนอยู่กับวัวเลย” นายคล้อยรับรองด้วยเสียงแจ่มใส แกรู้สึกพอใจที่สมจิตได้โต้ตอบนางอุ่นแทนตัวแก “บ้านนายปิ๋วเขาก็นอนอยู่ติดๆ กับวัวเหมือนกัน ยิ่งบ้านยายแย้ม ยายแก่แกเก่ง ไม่ค่อยหลับนอน ได้ยินเสียงตำหมากกิ๋งๆ ทุกคืน” ‘I actually sleep with my cows,’ Mr Khloi stated in a clear voice. He was glad that Somjit had answered Mrs Un in his stead. ‘At Mr Piu’s, they sleep close to their cows too. And even more so at Granny Yaem’s. The old woman is smart, she doesn’t quite sleep. You can hear her pounding betel every night.’
ระหว่างนี้มีเสียงเฮฮามาจากหน้าบ้าน เมื่อฝ่ายที่สนทนากันอยู่บนเรือนเหลียวไปดู ก็ปรากฏว่าเป็นเสียงของนายหมายกับชายหญิงชาวถิ่น ๒-๓ คน โต้ตอบกันด้วยเรื่องขบขันอย่างใดอย่างหนึ่ง นายคล้อยผู้ซึ่งมองเห็นเขาเหล่านั้นได้ถนัด หัวเราะขึ้นอย่างชอบอกชอบใจ แล้วหันมาบอกแก่สมจิตว่า “ไอ้พวกที่บนเรือนยายแย้มเอาเหล้าไปเลี้ยงคุณหมายถึงท่าน้ำ” At this point there were raised voices at the front of the house. When those who were conversing on the platform turned to have a look it turned out it was Mr Mai and a few local women chattering over some funny story. Mr Khloi, who could see those people clearly, laughed in sympathy and then turned round to tell Somjit, ‘Them ladies at Granny Yaem’s house have pursued Mr Mai to the pier to offer him a drink.’
สมจิตยิ้มน้อยๆ และไม่ตอบว่ากระไร ความชอบพอกันระหว่างสามีของหล่อนกับชาวบ้านเป็นสิ่งที่พอใจหล่อนอยู่บ้าน เพราะเป็นเหตุที่ช่วยให้หล่อนได้รับความอุ่นใจ และความสะดวกหลายอย่างหลายประการ อุ่นใจเพราะเขาเหล่านั้นคอยรับรองจะป้องกันมิให้คนพาลหรือนักเลวย่องเบามารบกวนหล่อนได้ และสะดวกเพราะเขาเหล่านั้นย่อมช่วยเหลือหล่อนด้วยแรงของเขา หรือด้วยสิ่งของที่เขามีโดยไม่เรียกร้องสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเครื่องตอบแทน หน่อไม้ น้ำเต้า ถั่วเขียว มันเทศ ฟืน เป็นสิ่งที่สมจิตมักไม่ค่อยต้องซื้อ และบางคราวแม้แต่ข้าวสารเป็นกระบุง หล่อนก็เคยได้รับโดยไม่ต้องเสียสิ่งใดเป็นค่าแลกเปลี่ยน แต่ก็มีบางวันบางเวลาที่สมจิตรู้สึกว่านายหมายสนิทชิดเชื้อกับชาวถิ่นมากเกินไป ความรู้สึกเช่นนี้มักจะเกิดในเวลาที่ชายชาวถิ่นหลายคนขึ้นมานั่งเป็นกลุ่มอยู่บนเรือนที่หล่อนอยู่เป็นชั่วโมงๆ ทุกคนสวมกางเกงอันชำรุดจนน่าเสียวไส้ และร่างกายท่อนบนก็เปลือยเปล่า มองเห็นผิวหนังดำเป็นมัน และนายหมายก็นั่งหัวเราะเฮฮาอยู่กับเขาได้โดยไม่นึกถึงว่าภรรยาหรือ “น้าอุ่น” อาจจะหนวกหูและเกิดความรำคาญ Somjit smiled a little and didn’t answer. The mutual liking between her husband and the locals was something that pleased her to some extent, because it helped her receive warmth and comfort of many kinds – warmth because the locals guaranteed that no troublemaker or burglar would disturb her, and comfort through the various things they had which they provided without asking for anything in return: bamboo shoots, bottle gourds, mung beans, potatoes, firewood were things Somjit seldom had to purchase and at times she even received basketfuls of rice without having to give up anything in exchange. But there were days when Somjit felt that her husband was too familiar with the locals. This feeling would arise when many local men came and sat in a group for hours in the house where she was, all of them wearing trousers so worn out it was alarming and their chests bare, exposing dark oily skins, and Mr Mai sat laughing boisterously without thinking that his wife and Auntie Un might be deafened and irritated.
วันรุ่งขึ้นเป็นวันอาทิตย์ราวๆ ๐๗.๐๐ นาฬิกา สมจิตซักผ้าอยู่ที่สะพานน้ำ นางอุ่นทำกับข้าวอยู่ในครัว ส่วนนายหมายนั่งดูให้ลูกชายรับประทานอาหารพลางทำความสะอาดให้ห่อเทียนไข ๒ ห่อ และไม้ขีด ๓ กลัก ซึ่งเขาเตรียมจะนำไปถวายพระบวชใหม่ในวันนี้ The next day was a Sunday. Around 7:00 hours, Somjit sat washing clothes at the footbridge, Mrs Un was cooking in the kitchen. As for Mr Mai he sat watching his son eating while cleaning two sets of tallow candles and three match- boxes which he was getting ready to offer the new monk today.
ที่บ้านนางแย้มอยู่เคียงกับบ้านนางเพิ่ม แต่ล้ำเข้ามาจากฝั่งน้ำ กำลังมีเสียงโหวกเหวกปนกับเสียงเฮฮา เรือบรรทุกแตรวงที่จะบรรเลงประกอบการบวชนาคกำลังมาถึงสะพานหน้าบ้านนางเพิ่ม เป็นการจำเป็นที่คณะดนตรีจะต้องขนเครื่องของเขาขึ้นที่สะพานนี้เพื่อมิต้องย่ำน้ำโคลนตามชายฝั่งก่อนที่จะไปถึงเรือนที่มีงาน แต่เนื่องจากสะพานนี้มิได้สร้างแบบถาวร และไม้กระดานที่ทำพื้นก็ผุมาก จะแบกกลองและแตรขนาดใหญ่ข้ามได้ด้วยยาก เจ้าของบ้านทั้งสองบ้านจึงช่วยหามแผ่นกระดานมาซ้อนและต่อให้กว้างขึ้น เมื่อเสร็จแล้วคณะแตรวงแต่ละคนล้วนสวมเครื่องแต่งกายสะสวยเต็มที่ กางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตหรือเสื้อชั้นใน บางคนถึงกับมีเนคไทผูกคอ ต่างก็ขนเครื่องประจำมือของตนขึ้นจากเรือ ยูฟอเนียม บาริทอนคอร์เนตปี่ ๑ เบสกลองแกร็ก กลองมาลิกัน เรียงเป็นแถวขึ้นมาบนสะพาน คนปี่เล็กกับคนฉาบกำลังจะก้าวตามขึ้นมา ก็พอดีมีเสียงดัง กร๊อบ โครม ซ่า แล้วก็มีเสียงอุทานเสียงฮา ดังลั่นขึ้นทันที เมื่อคนกลองมาลิกันถอนแขนขึ้นจากโคลนแล้วคว้าเอาปลาติดมือชูขึ้นมาด้วยตัวหนึ่ง และกลองมาลิกันลอยตุ๊บป่องไปชนกับคนแตรเบสซึ่งยืนแช่โคลนอยู่ครึ่งตัว บุตรชายนายหมายผละจากชามข้าววิ่งตังๆ ไปยืนพิงโอ่งที่ตั้งอยู่นอกชาน ไม่ฟังเสียงบิดาที่ร้องห้าม เมื่อนายหมายวิ่งตามไปถึงตัวลูก ก็มองเห็นภาพสะพานหักและคนแช่น้ำ ก็อดหัวเราะไม่ได้ Mrs Yaem’s house adjoined Mrs Pherm’s house but was entered by boat from the waterside. There was boisterous shouting going on. The boat transporting the orchestra that was to perform at the ordination ceremony was arriving at the footbridge in front of Mrs Pherm’s house. The musicians had to carry their instruments up to this footbridge to avoid treading the muddy water of the riverside before reaching the house where the party was, but given that this footbridge had not been built to last and its floorboards were very rotted, it was precarious to get the drums and the bigger instruments, which they had to carry on their backs, across it. The owners of the two houses thus brought in additional planks to firm up and enlarge the footbridge. When this was done, the members of the orchestra each put on their finest clothes, trousers, shirts or undershirts. Some even wore ties. Each took his usual instrument from the boat – euphonium, baritone, cornet, first oboe, base snare drum, Mulligan Guard drum – and lined up on the footbridge. The small-oboe player and the cymbals man were about to follow when there was a crack, a crash and a splash, followed by resounding cheers and jeers when the Mulligan drum player pulled his arm out of the water and brandished a fish he had caught, while the Mulligan drum bobbing away collided with the behind of the base horn player who stood half immersed in mud. Mr Mai’s son deserted his plate of rice to dash over and stand by the big water jar which had been set up on the platform, not listening to his father’s shouted interdiction. When Mr Mai came running to his son and saw the scene of broken footbridge and soaked people, he couldn’t help laughin .

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

กลองแกร็ก or กลองแต๊ก? I assume this is a snare drum, but don’t take my word for it..

กลองมาลิกัน: Mulligan Guard drum

หลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว สะพานก็เป็นสิ่งไม่จำเป็นต่อไป คนที่เปียกแล้วก็พากันท่องน้ำย่ำโคลนผ่านไปยังบ้านที่มีงาน เสียงถามหาผ้าขาวม้ากันโหวกเหวก สลับกับเสียงโจษจันเรื่องสภาพของสะพาน สักครู่ใหญ่ก็สงบลง ครั้นแล้วก็มีเสียงแตรเสียงฉาบ เสียงกลองดังขึ้นเป็นเพลง โดยนักดนตรีที่นุ่งผ้าขาวม้าสวมเสื้อแบะคอบ้าง นุ่งกางเกงชั้นในบ้าง สวมเสื้อเชิ้ตบ้าง กางเกงขายาวถกขาขึ้นเหนือเข่าบ้าง ต่อจากนั้นมิช้า ตามทางเดินหน้าบ้าน ข้างบ้านหลังบ้านทุกๆ บ้านใกล้บ้านที่มีงานก็มีคนย่อยกันมาเป็นแถว แถวละ ๔ คน ๕ คน ๖ คน ล้วนแต่บ่ายหน้าไปตามทางที่มีเสียงดนตรี แล้วในที่สุดก็ไปยืนออกันอยู่บนทางเดินข้างบ้าน และหน้าบ้านที่มีงาน เมื่อสมจิตกลับขึ้นมาบนเรือนและกำลังขึงราวตากผ้า ก็ถูกบุตรชายวิ่งมากอดขารบเร้าให้พาไป “ดูแตร” ฝ่ายมารดากำลังมีความรู้สึกตรงกันข้ามกับบุตร คือ หนวกหูเสียงกลองซึ่งดังสนั่นหวั่นไหว จึงตวาดบุตรชายด้วยเสียงอันดังว่า “ยุ่ง หนวกหูจะตายอยู่แล้ว After that event, the footbridge became something unnecessary. Those who were drenched trod across water and mud past the house where the party was held. There were loud requests for loincloths mixed with comments about the state of the footbridge. A long while later they quietened down. And then bugles and cymbals came into play, drums started to beat a tune, their players wearing loincloths and open-necked shirts for some, knotted underwear for others, or else long shirts, or trousers folded up to above the knee. Not long after that, along the paths at the front, alongside and behind all the houses close to the partying house there came rows of people, four, five or six abreast, all headed to where the music issued from, and finally they stood clustered on the paths alongside and in front of the festive house. As Somjit, who had gone back to her house, was setting up the clothes line, her son rushed to her, enfolded her legs in his arms and pressed her to take him ‘to see the horns’. The mother was feeling the opposite of the son, which was that she was deafened by the din of the drums, so she berated him in a loud voice, exclaiming, ‘Stop pestering me! This racket’s mad- dening enough as it is. .

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

In the Thai text, the repetition of บ้าน (house) sounds like a drum roll-call. In English, repetition tends to be tedious, and I’ve studiously avoided repeating the compound: บ้านที่มีงาน is translated now as ‘the partying house’ and now as ‘the festive house’.

“ยุ่ง หนวกหูจะตายอยู่แล้ว”: the expressions demand recreation to fit what an English mother would tell her son in such a context.

นายหมายเรียกลูกชายจะให้รับประทานอาหารต่อ แต่ไม่สำเร็จเพราะเด็กกำลังตื่นเต้นด้วยเสียงต่างๆ และด้วยผู้คนที่ขวักไขว่อยู่เบื้องหน้า เพื่อจะตัดความรำคาญของภรรยา นายหมายจึงออกไปที่นอกชาน ตรวจดูหมู่คนจนพบหน้าผู้ที่รู้จัก แล้วก็พยักเรียกให้เข้ามาใกล้ Mr Mai called his son to have him finish eating but he didn’t succeed, because the child was excited by the multifarious noise and by the throng milling around before him. To cut short his wife’s irritation, Mr Mai went out on the platform, surveyed the crowd until he saw a face he knew and then gestured for her to come closer.
“ฝากเจ้านี่ไปด้วยคนเถอะ” นายหมายกล่าว อีกฝ่ายหนึ่งเป็นหญิงสาว รูปร่างหน้าตาไม่ขี้ริ้ว และได้รับเชื้อความเจริญของหญิงชาวกรุงไว้แล้วทางเส้นผมอันหยิกเป็นลอน พยักยิ้มกับเด็กชายมาแต่ไกล และเมื่อมาถึงริมเรือนแล้วก็กล่าวแก่เด็กว่า
“มาซิจ๊ะ พ่อแดง”
‘Take care of the little fellow for me, will you,’ Mr Mai said to the young woman, who was far from ugly and who had caught the city dwellers’ development virus in the curliness of her hair. She nodded, and smiled to the child from afar, and when she reached the side of the platform told him, ‘Come along, young Daeng.’
สมจิตหน้าบึ้งจัดขึ้นทันที หล่อนเคยเห็นหญิงนี้มาก่อนแล้ว โดยไม่มีความเอาใจใส่นึกชอบหรือนึกชัง แต่เฉพาะวันนี้ บางทีจะเป็นด้วยหล่อนกำลังร้อนและเมื่อย เพราะได้นั่งก้มหลังซักผ้าอยู่หลายสิบนาที ให้นึกหมั่นไส้หน้าที่ยิ้มแย้มกับสามีและบุตรของหล่อนยิ่งนัก ประกอบทั้งคำว่า “แดง” เป็นคำที่หล่อนเกลียดในเมื่อมีผู้นำมาใช้เรียกเป็นนามแห่งบุตรของหล่อนด้วย พอหญิงนั้นอุ้มพ่อหนูพ้นไป สมจิตก็บ่นว่า  “สมน่ะ ว่าจะหาชื่อให้ลูกก็ไม่เห็นหาให้สักที ใครๆ ก็เรียกพ่อแดงๆ รำคาญจะตาย” Somjit’s face turned sulky at once. She had seen that woman before without paying attention to her, whether positive or negative, but today, perhaps because she was feeling hot and stiff all over after washing clothes for quite some time, she felt a strong distaste for the smiling fresh face, for her husband and for her son, including the fact that ‘daeng’ (red) was a word she hated when it was used to call her son. When the woman had left with the child in her arms, Somjit complained, ‘I say, Som’, you said you’d find a name for our son and have never done so, so they all call him Young Daeng, it’s so annoying.’
นายหมายก็เกิดรำคาญภรรยาขึ้นเหมือนกัน ที่เกิดจะพื้นเสียขึ้นในทันทีทันใดนั้น เขาจึงตอบด้วยเสียงค่อนข้างแข็ง “แล้วมันเป็นอะไรไปล่ะ แดงหรือเขียว หรือขาว มันก็เป็นลูกของเราอยู่นั่นเอง” Mr Mai grew annoyed with his wife similarly for her sudden bad mood, so he answered in a rather harsh voice, ‘And then what? Red or Green or White, he’s still our child.’
“งั้นก็เรียกอ้ายหมาเสียก็แล้วกัน” สมจิตตอบแล้วค้อนให้ด้วยความเคือง ‘Then call him “that damn dog” and be done with it,’ Somjit answered, shooting him a dirty look in annoyance.
จากคำตอบของภรรยา นายหมายนึกขึ้นได้ว่าคำทั้ง ๓ ที่เขากล่าวนั้น ล้วนแล้วแต่ชาวถิ่นนี้ใช้เรียกสุนัขที่เขาเลี้ยงไว้ประจำบ้านทุกบ้านก็อดยิ้มไม่ได้ แล้วนายหมายจึงตอบว่า “ก็จิตอยากทำปทานุกรมของฉันหายเสียทำไมล่ะ ฉันไม่รู้จะเอาอะไรมาตั้งชื่อมัน ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นอ้ายหนูแดงอยู่ยังงั้นน่ะซี” From his wife’s answer, Mr Mai realised that the three names he had mentioned were all what the local people called their dogs, which all households kept, so he couldn’t help smiling before he answered, ‘Well, if you hadn’t got rid of my lexicon … I don’t know what to use to come up with a name, so we just have to let him be called “Little Daeng”.’
แต่ก็อีกน่ะแหละที่คำพูดของนายหมายเผอิญถูกจุดที่สำคัญที่เขากับภรรยาเคยขัดใจกันมาแล้ว คือข้อที่สมจิตได้ทำหนังสือดีๆ ของนายหมายหายไปหลายเล่ม ในคราวที่รื้อของขนจากบ้านเก่า อันอยู่ใกล้จุดยุทธศาสตร์ไปเที่ยวฝากไว้ตามวัดหรือบ้านญาติที่สมจิตคะเนว่าเป็นที่ปลอดภัย เหตุฉะนั้นน้ำเสียงของสมจิตจึงมีความน้อยใจระคนด้วยเมื่อหล่อนตอบว่า “ไอ้ความผิดนั้นน่ะ ต้องตกอยู่ที่ฉันวันยังค่ำแหละ เพราะคนเรามันคอยแต่จะขัดกันเสียเรื่อย ที่จริงชื่อหนูแดงน่ะ เจ้าคุณธรรมฯ ท่านให้มาตั้ง ๓-๔ ชื่อ…” But then again, Mr Mai’s answer raised an important point of contention between him and his wife, the fact that Somjit had made several of Mr Mai’s good books disap- pear when they had moved their belongings from the old house which stood close to strategic points by confiding them to temples or to relatives whose houses she had deemed in safe areas. For this reason, Somjit’s voice was mixed with resentment when she answered, ‘You keep bringing up that mistake because you’re intent on finding fault with me. Actually, His Reverend offered us three or four names for him…’
“แต่เราก็จำเป็นต้องใช้นามานุกรมสำหรับเทียบว่ามันจะถูกตามรัฐนิยมหรือไม่ถูก พราะท่านให้ชื่อมาท่านก็ว่าเป็นมงคลแก่เด็ก ทีนี้พอชื่อเข้าแล้ว ถ้าเผื่อมันไม่เป็นมงคลแก่พ่อแม่ของเด็กเธอจะว่ายังไง” ‘But we must use the dictionary of proper names to make sure the name is in conformity with the State Con- vention. The names the monk provided he said were propitious to the child, but then if it turns out that they are not propitious to his parents, what will you say?’
“บ้า!” สมจิตกล่าวเสียงดังขึ้นด้วยความโกรธ และความโกรธนี้มีสาเหตุเก่าแก่เป็นเชื้อสายอยู่ด้วย คือสาเหตุที่นายหมายต้องตัดคำต้นแห่งชื่อของเขามาเติมให้เป็นคำต้นแห่งชื่อภรรยา เพื่อว่าทั้งสองจะได้มีชื่ออันถูกต้องด้วยกัน “รัฐนิยมบ้าบอของสมน่ะ รัฐบาลนี้เขาเลิกกันหมดแล้ว” ‘What rubbish,’ Somjit exclaimed angrily, and her anger too was generated by an old virus, which was that Mr Mai had had to cut off the first syllable of his name and add it as first syllable to his wife’s name for both names to be politically correct.* ‘That State Convention of yours, this government has cancelled it entirely.’ .

.

.

.

* A reference to one of the twelve ‘cultural mandates’ decreed by Field Marshal Plaek Phibunsongkhram between 1938 and 1944 in the name of nation-building for a country, Siam, henceforth rebaptised Thailand.

“เชื่อเถอะ” นายหมายสวนออกไปทันที “รัฐบาลเก่าน่ะใคร รัฐบาลใหม่น่ะใคร แรกๆ มาเป็นรัฐบาลก็ทุกคนแหละ ทำท่าทางจะมีความคิดความเห็นเป็นธรรมดาเหมือนอย่างเราๆ พอนานเข้าๆ ชักเพลิน ใครจะรู้ว่าจะไม่เกิดนิยมอะไรแปลกขึ้นมาอีก” ‘Believe me,’ Mr Mai interjected at once. ‘This government, that government: who are they? At first, when they are in power, they all claim they think normally like the rest of us, but after a while if they take a liking to it, who says there won’t be some new weird convention of this or that?’
คราวนี้นายหมายทำให้สมจิตจำนนต่อถ้อยคำของเขาได้ และเมื่อเห็นหล่อนอ้ำอึ้งอยู่ เขาก็รีบหนีเข้าห้องไปเสียโดยเร็ว This time, Somjit had to give in to her husband’s wisdom and when he saw her stuck for words, Mr Mai promptly left the scene and went indoors. รีบหนีเข้าห้องไปเสียโดยเร็ว is redundant rather than humorous: try to รีบโดยช้า (hurry slowly).
ครั้นสายจัดตะวันสูงขึ้น ตามทางเดินหาที่ร่มได้ยาก หญิงสาวชนบทก็พาพ่อแดงกลับมาส่ง พร้อมกับบอกข่าวว่าเจ้านาคกำลังจะออกจากบ้านไปวัด นายหมายก็จัดแจงแต่งตัวจะไปบ้านเจ้าของงาน สมจิตเปลี่ยนเสื้อกางเกงลูกชายให้สวยขึ้น เพื่อจะมอบให้ไปกับบิดา เรือแจวขนาดใหญ่กำลังเข้ามาเทียบท่า มีผู้ลงไปยืนห่มสะพาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะทนน้ำหนักขบวนเจ้านาคได้ คนแตรจัดแจงขนเครื่องกลับไปลงเรือเดิมของเขา บางคนเดินบนสะพาน บางคนเดินบุกน้ำเพราะไม่ไว้ใจว่าจะไม่ตกสะพานเป็นครั้งที่สอง พอนั่งลงในเรือเรียบร้อยก็บรรเลงเพลงซึ่งมีเสียงแตรเบ๊สและเสียงกลองมาลิกันดังสนั่นหวั่นไหวกว่าเสียงอื่น นางเพิ่มซึ่งได้ละหน้าที่ตักน้ำตอนเช้าวันนี้โดยไม่นึกจะบอกให้แม่บ้านรู้ล่วงหน้า กระวีกระวาดขึ้นมาบนเรือนแล้วร้องเร่งด้วยเสียงอันดัง
“ไปกันหรือยังคะ น้าแย้มแกให้มาบอกคุณว่าจะไปไม่เห็นไป”
When the sun was high in late morning, finding shade along the paths was difficult. The young country woman brought Young Daeng back, together with the news that the novice was about to leave the house for the temple. Mr Mai made himself ready to go to the partying house. Somjit changed her son to finer clothes to have him ac- company his father. A big rowing boat was coming alongside the pier. People came out and stood jumping up and down on the footbridge to make sure that it would with- stand the weight of the procession. The orchestra prepared to take their instruments back to the boat they had come with. Some of the players walked on the foot- bridge, others waded through the water because they weren’t sure they wouldn’t fall from the footbridge a second time. As soon as they were properly seated in the boat, they performed a number in which the base horn’s blare and Mulligan drum’s beat were louder than all the rest. Mrs Pherm, who had taken leave of her duties that morning without thinking of informing the lady of the house beforehand, went up to the house in a flurry and, almost shouting, pressed, ‘Are we going yet? Aunt Yaem told me to tell you she has yet to see you come as you said you would.’ A general note about sounds: in Thai the use of เสียง (sound, noise, voice) is compulsory; not so in English, where a great variety of verbs and nouns are available to translate accurately the sounds made according to the context provided in Thai. Here, เสียงแตรเบ๊สและเสียงกลองมาลิกันดังสนั่นหวั่นไหวกว่าเสียงอื่น (the sound of the base horn and the sound of the Mulligan drum were more resounding than all the other sounds) becomes ‘the base horn’s blare and Mulligan drum’s beat were louder than all the rest’.
“ไปซี” นายหมายรีบตอบ “ก็ไม่รู้จะออกเรือกี่โมงแน่นี่นา แล้วของเลี้ยงพระว่ายังไง จะเลยเอาไปเดี๋ยวนี้หรือจะมีใครกลับมารับได้อีก” ‘Of course we are,’ Mr Mai hastened to answer. ‘But I don’t know what time the boat will leave. Then what about the offerings to the monks? Shall we take them along now or will there be someone to come and fetch them later?’
“ของยังไม่เสร็จ” เสียงนางอุ่นตะโกนออกมาจากในครัว “ก็ว่าเลี้ยงเพลนี่ ยำนี่ยำไว้นานไม่กินก็เซ็งหมด ไม่มีรสชาติกัน” ‘They aren’t ready yet,’ Mrs Un’s voice shouted from the kitchen. ‘It’s for the eleven o’clock meal, right? If they were ready now only to be eaten much later, they’d be ruined, totally tasteless.’ เพล is the second and most important meal of the day for monks, traditionally eaten at 11am (or at any rate before midday).
เป็นประเพณีของชาวชนบทนี้ เมื่อบ้านใดจะทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านหรือที่วัดก็ตาม ก็บอกไปยังเพื่อนบ้านที่ชอบพอกัน ฝ่ายผู้ที่รับการบอกเล่าก็จัดอาหาร จะเป็นข้าวหม้อหนึ่ง แกงหม้อหนึ่ง หรือของคาวสิ่งหนึ่งของหวานสิ่งหนึ่งแล้วแต่ศรัทธา นำไปใส่สำรับพระรวมกับสิ่งของของเจ้าของงาน This was a local custom. When a household earned merit by treating monks to a meal either in the house or at the temple, they told neighbours they got along with, who in turn prepared food, either a bowl of rice and a plate of curry or one type of savoury and one type of sweet, depending on faith, which would be added to the hosts’ offerings on the monks’ collective trays.
มีการโต้ตอบกันระหว่างนายหมาย นางสมจิต นางอุ่น และนางเพิ่มถึงวิธีที่จะนำกับข้าวสิ่งหนึ่งของหวานสิ่งหนึ่งของนายหมายไปให้ถึงวัดให้ใกล้กับเวลาที่พระจะลงมือฉัน เพื่อให้ต้องกับความประสงค์ของนางอุ่น เป็นครู่ใหญ่จึงสงบลงได้ โดยนางเพิ่มรับรองอย่างมั่นคงว่าตนจะเป็นผู้คอยรับของและนำไปที่วัดเอง There was a discussion between Mr Mai, Mrs Somjit, Mrs Un and Mrs Pherm on how to take Mr Mai’s household’s offerings of one type of foodstuff and one type of dessert to the temple as close to the time the monks began to eat, in conformity with Mrs Un’s wish. It went on long enough before it was settled with Mrs Pherm asserting with determination that she would be the one waiting for those dishes and taking them to the temple herself.
นางเพิ่ม นายหมายและหนูแดงลงบันไดไป พอดีกับขบวนแห่นาคลงจากเรือนนางแย้ม ขึ้นบนเรือนนางเพิ่ม ลงจากเรือนนางเพิ่มไปสู่สะพาน สมจิตลุกขึ้นไปยืนดูและอดใจหายแทนคนในขบวนมิได้ ถ้าสะพานหักตัวเจ้านาคหรือปัจจัยที่สำคัญในการบวช เช่น ไตรครองตกน้ำจะทำอย่างไร…สมจิตถอนใจและยิ้ม อ้อ เพิ่งเห็นความฉลาด มีใครคนหนึ่งตะโกนว่า “ทีละคน ทีละคน อย่าลงไปพร้อมกัน เดี๋ยวหักอีก พยายามเหยียบให้ตรงคร่าวไว้หน่อยดี” …อ๋อ นึกว่าใคร คือนายหมายนั่นเอง และคำเตือนของเขามีค่า ทุกๆ คนในขบวนทำตามอย่างตั้งใจ Mrs Pherm, Mr Mai and Young Daeng went down the stairs, just as the ordination procession came out of Mrs Yaem’s house and into Mrs Pherm’s house and then left Mrs Pherm’s house heading for the foot- bridge. Somjit got up and went to stand and watch and couldn’t help feeling scared for the people in the procession. If the bridge collapsed and the novice or important requisites of the ordination such as the monk’s three-piece garment fell into the water, what would they do? Somjit sighed and then smiled. Oh! How clever of them! Someone was shouting, ‘One at a time! One at a time! Don’t go all at once or it’ll break again. Try to walk straight along the central beam.’ Oh, who else but Mr Mai himself, and his warning was valuable: everyone in the procession eagerly followed suit.
สมจิตยืนดูอยู่จนเขาเหล่านั้นลงเรือจนเสร็จเรียบร้อย…คนแจวค้ำเรือจากท่า แล้วก็ใส่หูแจว เรือแตรนำหน้าพาเสียงสนั่นแห่งกลองห่างออกไป คนดูที่อยู่ตามทางเดินหันหลังกลับ บ้างวิ่ง บ้างเดิน แยกกันไปทางอื่น ซึ่งในที่สุดก็จะไปรวมกันอยู่ที่ลานวัด ที่นายเขียนบุตรชายของนางแย้มจะบวชนั่นเอง Somjit went on looking until they were all safely in the boat. The oarsman pushed the boat away from the pier with his oar and then started rowing. With the orchestra boat ahead, the resounding sound of the drums receded into the distance. The spectators on the paths turned around and left, some running, others walking, following sundry paths to gather again eventually in the temple yard where Mr Khian, Mrs Yaem’s son, was to become a monk.
สิบวันต่อมา ในเวลาย่ำรุ่ง นายหมายและภรรยาพร้อมทั้งนางอุ่นได้รับความพิศวงด้วยเสียงโจษจันอันเซ็งแซ่อยู่ข้างบ้าน เนื้อความแห่งข่าวมีว่า เนื่องจากท่านอุปัชฌาย์ของพระเขียนอาพาธด้วยโรคท้องไม่ดีมาหลายวัน นายเข้มผู้โยมของพระเขียนจึงไปนอนค้างที่วัดเพื่อเป็นเพื่อนพระลูกชายด้วย และปฏิบัติพยาบาลท่านอุปัชฌาย์ของพระลูกชายด้วย ที่บ้านนางแย้มจึงมีแต่ตัว นางแย้มและลูกหญิงอายุ ๑๒ ขวบ อยู่ด้วยกันเพียง ๒ คน ครั้นเมื่อคืนมีฝนตกเรื่อยๆ ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกประมาณ ๐๒.๐๐ นาฬิกา นางแย้มได้ยินเสียงวัวในคอกมีอาการตื่น แต่เมื่อนางแย้มลุกขึ้นเงี่ยหูฟัง เสียงกุกกักอันเกิดจากความเคลื่อนไหวของวัวก็เงียบหายไป ครั้นเมื่อเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาเศษ นางแย้มตื่นขึ้นตามเวลาที่เคยเพื่อเตรียมอาหารไว้ให้นายเข้มเป็นเสบียงออกไปดูนา เมื่อจุดตะเกียงลงไปข้างล่างก็เห็นใต้ถุนเรือนเกือบเป็นที่ว่างเปล่า เพราะวัวได้หายไป ๔ ตัวจากจำนวนวัวทั้งคอกซึ่งมีอยู่ ๖ ตัวด้วยกัน Ten days later, at daybreak, Mr Mai and his wife along with Mrs Un were awoken by excited chatter arising on one side of the house. The substance of the news was that, because the monk who had ordained Monk Khian had been afflicted by a stomach ailment for days, Mr Khem, Monk Khian’s father, had gone to stay at the temple to keep his son company and nurse the ailing monk as well. At Mrs Yaem’s house there were only Mrs Yaem and her twelve-year-old daughter. As last night it had rained from dusk to around two in the morning, Mrs Yaem had heard agitation among the cows in the stable, but when she got up and pricked up her ears the halting noises from the cows’ fidgeting had stopped. Shortly after 04:00 hours, Mrs Yaem woke up at her usual time and prepared food for Mr Khem to take away on his round of the rice field. When she lit a candle and went downstairs, she saw that the area under the house was almost totally empty because four of the six cows had gone.
ด้วยความตกใจจนเกือบหมดสติ นางแย้มวิ่งไปยังบ้านที่ใกล้ที่สุด คือบ้านนางเพิ่มและเล่าเหตุร้ายให้เพื่อนบ้านฟัง นายปีกสามีนางเพิ่มกับนายคล้อยผู้ซึ่งอยู่บ้านเดียวกับนายปีก ต่างพากันไปตามนายเข้มที่วัด แล้วเขาทั้ง ๓ พร้อมด้วยเพื่อนชายอีก ๔-๕ คน ก็รีบออกเดินไปตามทุ่งนาอันมีน้ำเจิ่ง โดยอาศัยรอยเท้าวัวเป็นเครื่องนำ เดินไปจนสิ้นระยะทางประมาณ ๕๐๐ เส้น ก็ยังเห็นรอยต้นข้าวที่ถูกเหยียบเป็นทางไปข้างหน้า ครั้นรุ่งแจ้ง ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงเหนือขอบฟ้า ผู้ตามวัวบางคนเกิดความเหน็ดเหนื่อยก็แวะเสียที่นาของตนบ้าง กลับหลังมายังที่อยู่บ้าง แล้วก็มายืนเล่าถึงรอยเท้าวัวและทิศทางที่วัวเดินไปให้นางแย้มและคนอื่นๆ ฟัง เป็นเหตุให้เกิดเสียงถามเสียงตอบเสียงแสดงความเห็นโหวกเหวกไปทั่วบริเวณ Shocked to the point of almost swooning, Mrs Yaem ran to the closest house, that is Mrs Pherm’s, and told her neighbour the bad news. Mr Peek, Mrs Pherm’s husband, and Mr Khloi, who also lived in their house, followed Mr Khem to the temple, and then the three of them, together with another four or five male friends, hurried out into the rice fields, which were flooded. Following the lead of the cows’ footprints, they walked for about two kilometres until the end of the trail, yet could still see trampled rice stalks forming a track ahead.* In the light of dawn, as the sun rose in the sky, some of the cow pursuers who were exhausted dropped out to visit their own fields or go back home and then came to tell of the cows’ trail and which way it went to Mrs Yaem and others, which generated an exchange of questions and answers and viewpoints in the whole neighbourhood. .

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

* This is a bit mystifying (how can it be ‘the end of the trail’ when ‘trampled rice stalks’ etc?) but that’s what this city woman writes. เส้น: a unit of length equal to 40 metres; hence the conversion.

นายหมายไม่มีเวลาที่จะฟังความให้ละเอียดยิ่งขึ้น เขาต้องรีบลงเรือเพื่อจะไปยังสถานี ระหว่างทางเขาปรารภเรื่องนี้แก่นายอิ่ม แต่ก็ไม่ได้รับความสว่างเพิ่มเติม เพราะนายอิ่มก็เพิ่งจะรู้เรื่องวัวหายเมื่อนายหมายบอกนั่นเอง Mr Mai didn’t have time to listen to any further details. He had to hurry to take the boat to go to the station. On the way he talked about it with Mr Im, but received no enlightenment since Mr Im only learned of the disap-pearance of the cows from him.
วันนั้นทางกรุงเทพฯ ก็เต็มไปด้วยข่าวลืออันน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับสงคราม ชาวพระนครบางหมู่บางคณะมีความหวังว่าญี่ปุ่นจะขอสงบศึกในเวลาไม่ช้า เนื่องจากวิทยุทางฝ่ายสหประชาชาติแจ้งข่าวทิ้งระเบิดประเทศญี่ปุ่นในทางได้ผลดีอย่างใหญ่หลวง แต่บางหมู่บางคณะก็เกรงว่าน้ำใจของญี่ปุ่นยังเข้มแข็งอีกมาก คงจะไม่ยอมขอสงบศึกโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝ่ายสหประชาชาติได้กล่าวย้ำอยู่ไม่ขาด ว่าตนจะหยุดรบเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับเยอรมัน นายหมายนั่งรถไฟกลับจากกรุงเทพฯ มายังชนบทด้วยสมองอันเต็มไปด้วยปัญหาเหล่านี้ ตลอดจนถึงเวลาที่นั่งมาในเรือ เพื่อนชาวกรุงผู้เป็นพวกอพยพด้วยกัน ก็ปรารภด้วยเรื่องเดียวกันนี้อีก จนกระทั่งถึงเวลาที่นายหมายเหยียบขึ้นเรือน เรื่องวัวหายจึงกลับมาสู่ความนึกคิด ทั้งนี้เพราะได้ยินนางแย้มร้องไห้คร่ำครวญดังมาจากที่อยู่ของแก That day Bangkok was full of exciting rumours about the war. Some groups of city dwellers derived hope that Japan would stop fighting before long from Allied radio broadcasts reporting that bombs had been dropped in Japan to great effect, but other groups feared that Japan’s determination was still very strong, that Japanese soldiers wouldn’t easily give up, especially when the Allied forces kept claiming that they would only stop fighting when Japan surrendered without conditions as Germany had. On the train back to the country, Mr Mai sat with his mind full of such problems, and again in the boat, when he discussed the same story with a fellow city dweller who too had fled to the countryside, until it was time for him to disembark. The story of the cows’ disappearance was brought back to his mind when he heard Mrs Yaem crying and moaning loudly from her home. .

.

บางหมู่บางคณะ … แต่บางหมู่บางคณะ: unlike in Thai, in English using ‘some’ repeatedly is frowned upon; an initial ‘some’ is followed by ‘other’.

.

.

.

.

.

กลับจากกรุงเทพฯ (back from Bangkok) is redundant and need not be translated.

.

.ถึงเวลาที่นายหมายเหยียบขึ้นเรือน: a literal translation would be awkward. The choice is between ‘until he stepped into/reached his house’ and ‘until it was time for him to disembark’.

แล้วนายหมายได้รับความรู้เพิ่มเติมจากหญิงชายชาวชนบทที่จับกลุ่มคุยกันอยู่ใกล้สะพานในระหว่างที่นายหมายอาบน้ำว่า นางแย้มได้ข่าววัวของตนแล้ว และจะได้วัวคืนโดยเสียเงิน ๔๐๐ บาทเป็นค่าไถ่ แต่นางแย้มไม่มีเงินจำนวนนี้ เพราะเงินที่ “ตวงข้าว” มาได้ก็ใช้ไปในการบวชลูกจนหมด Then Mr Mai received further knowledge from the country men and women assembled near the foot- bridge while he was bathing, saying that Mrs Yaem had received news of her cows and would get them back against a ransom of five hundred baht, but Mrs Yaem had no such amount of money because the advance that she had received against her future rice crop she had used entirely for her son’s ordination.
“ก็จะแปลกอะไร” นายหมายกล่าวอย่างสนเท่ห์เล็กน้อย “เราได้ร่องรอยวัวของเราแล้วนี่ จะต้องเดือดร้อนเรื่องไม่มีเงินทำไมล่ะ” ‘So what’s the problem?’ Mr Mai claimed, a little doubtfully. ‘She has already traced her cows. Why be upset about having no money?’ Translation of เรา in folk’s talks is always a challenge: it seldom means ‘us’ or ‘our’.
“ไม่มีเงินก็ไม่มีงัว” ผู้เล่าตอบแล้วหัวเราะ ด้วยเห็นขันในความเขลาของนายหมาย ‘No money, no cows,’ the speaker answered then laughed at the levity of Mr Mai’s remark. งัว (ngua) is the local pronunciation of วัว (wua). The same folks would say ฟาม (fam) instead of ความ (khwam).
“เอ๊ะ ก็เรารู้ร่องรอยแล้วใช่ไหมล่ะ ว่าวัวอยู่ที่ไหน” ‘But we do know where the cows are, don’t we?’
“ใครรู้ว่างัวอยู่ที่ไหน” อีกฝ่ายหนึ่งย้อนถามอย่างเห็นขันอยู่เช่นเดิม ‘Who does?’ another person asked back, amused too.
“ก็ใครเอาข่าวมาบอก เราก็ซักเอาจากคนนั้นซี หรือไม่ยังงั้นก็ติดสินบนเจ้าคนนั้นสักนิดหน่อยให้เขาบอกทางให้เรา แล้วเราก็บอกตำรวจ-” ‘Well, whoever brought the news, let’s hassle him until he tells or else give him a small bribe to show us the way and then we’ll tell the police…’
“ก็เสร็จกันเท่านั้นเอง” นายปีกขัดขึ้น และคนอื่นๆ ก็พากันหัวเราะและออกเสียงเป็นเชิงเห็นด้วยพร้อมกัน ‘And all her cows will die,’ Mr Peek objected and the others laughed and expressed their approval.
“เสร็จยังไง” นายหมายถามเสียงแข็ง ‘What do you mean,’ Mr Mai asked testily.
“ก็ตายน่ะซี ถึงตำรวจงัวก็ตายน่ะแหละ” แล้วเขาเหล่านั้นก็หัวเราะอีก ‘Well, police or not, they’d die,’ and then the lot of them laughed again.
นายหมายรู้สึกโกรธ เขาถามอีกด้วยเสียงแข็งขึ้นกว่าเดิม “ตายยังไง ทำไมถึงตาย” Mr Mai felt angry. He asked again, in a harder voice than before, ‘How? Why should they die?’
นางเพิ่มจึงกล่าวเป็นเชิงสอน “ต้องตายซีคะ พอถึงพรุ่งนี้เย็น ไม่ได้เงินวัวตาย” Mrs Pherm thus explained as if he was teaching, ‘They will. By tomorrow night, if there’s no money, the cows will be dead.’
“อุบ๊ะ! อะไร ยังกะบ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป” นายหมายกล่าวอย่างโกรธจัด “วัวตัวออกเบ้อเร่อจะกลัวฆ่ากันได้ยังไงง่ายๆ แล้วก็ตั้ง ๔ ตัว ชาวบ้านนี้ไม่มีใครเป็นลูกผู้ชายแล้วหรือ วัวมันจะตายสักตัวสองตัวก็ต้องปล่อยให้มันตายบ้างหละ ข้อสำคัญต้องเอาตัวไอ้คนร้ายให้ได้ก่อน ไม่ยังงั้นมันก็เหยียบจมูกเราได้ร่ำไป” ‘Bah! As if there were no laws in this country,’ Mr Mai exclaimed in great anger. ‘Cows are huge animals, you need not fear their being killed just like that. And then there are four of them. Isn’t there any man worthy of the name among you people? If a cow or two die, so be it. What matters is to catch the bandits first; otherwise they’ll keep slapping us in the face time and again.’
ไม่มีเสียงตอบจากผู้ที่เป็นชาย แต่ฝ่ายหญิงกล่าวด้วยเสียงโศกๆ ว่า “เผื่อพรุ่งนี้เย็นไม่ได้เงิน วัวก็ตายหมด อย่าว่าแต่ตัวสองตัวเลย สี่ตัวก็หมดทั้งสี่ตัว ซากก็ไม่เหลือ” แล้วคนอื่นๆ ก็พยักพเยิดกล่าวสนับสนุนด้วยน้ำเสียงแสดงความเชื่อมั่นว่าจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย There was no answer from the men, but a woman said in a sorrowful voice, ‘If by tomorrow night they don’t get the money, all cows will die, not just one or two as you say, all four of them, and even their carcasses won’t be found.’ Then all the others assented and seconded her statement in tone asserting that it couldn’t be any other way.
นายหมายโกรธจัดยิ่งขึ้น นึกชังน้ำหน้าคนทั้งหมู่นี้ ที่ไม่ฟังเหตุผลของฝ่ายค้าน ทั้งไม่แสดงเหตุผลของตนให้ฝ่ายค้านฟังด้วย ก็ขึ้นจากน้ำแล้วขึ้นเรือน เขารีบแต่งตัวโดยเร็วแล้วไปที่บ้านนางแย้ม ด้วยเจตนาจะไต่ถามเรื่องราวให้ละเอียด แล้วแนะนำให้นางแย้มกับสามีกระทำสิ่งที่ถูกที่ควร แต่เมื่อไปถึงแล้วก็ปรากฏว่านายเข้มไม่อยู่ นางแย้มแจ้งแก่นายหมายว่า “เขาไปอำเภอ” แล้วนางแย้มก็ร้องไห้คร่ำครวญถึงวัว นายหมายเป็นผู้ที่ไม่ชอบดูคนที่ร้องไห้ ทั้งคำที่นางแย้มกล่าวว่า “เขาไปอำเภอ” ชวนให้คิดไปในทางที่ตรงกับความคิดเดิมของตัวด้วย จึงนั่งฟังนางแย้มเพียงครู่เดียวแล้วก็ลากลับมาที่อยู่ Mr Mai’s anger grew even more, and he cursed in his mind the whole group who wouldn’t listen to the reasons of the opposite side and wouldn’t give their own reasons either, so he rose from the water and went into his house. He dressed in a hurry and then went to Mrs Yaem’s house with the intention of asking about the story in detail and then advise Mrs Yaem and her husband about what they should do, but when he got there it turned out that Mr Khem wasn’t in. Mrs Yaem informed Mr Mai that ‘He’s gone to the district office,’ and then she cried and moaned about her cows. Mr Mai was someone who didn’t like to see people crying and Mrs Yaem’s ‘He’s gone to the district office’ had him stick to his previous line of reasoning, so he sat listening to her for a moment only and then went back to his place. .

.

.

.

.
รีบแต่งตัวโดยเร็ว: here we go again!

ตั้งแต่เวลานั้นจนถึงเวลาก่อนหลับ นายหมายครุ่นคิดอยู่ในเรื่องวัวหาย วัวตาย และค่าไถ่วัว ในฐานะที่เป็นชาวพระนครแท้ๆ และไม่เคยผจญกับการถูกขโมยขึ้นบ้านถึงขนาดต้องนำความไปแจ้งตำรวจ ทั้งไม่เคยรู้จักชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวชนบทเสียเลยด้วย เขารู้สึกเป็นเดือดเป็นแค้นเรื่องค่าไถ่นี้ยิ่งนัก ขณะหนึ่งเขาคิดจะหาเรือข้ามฟากไปหานายอำเภอเพื่อปรึกษาเรื่องนี้ แต่คืนนี้เดือนมืด และมีพายุฝนด้วย นายหมายจึงต้องล้มความคิดของตน From that moment until he fell asleep, Mr Mai pondered on cows disappearing, cows dying, and ransom for cows. As a true Bangkok denizen who had never faced house rob- bery to the point of having to report to the police and who didn’t know the ways and customs of country people at all, he felt extremely furious over that ransom business. At one point he thought he’d look for a boat to cross the river and go and consult the district officer, but tonight there was no moon and a rainstorm too, so he had to give up his idea.
วันรุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์ เมื่อนายหมายไปถึงสถานีก็บังเอิญพบนายอำเภอผู้ซึ่งจะเดินทางไปกรุงเทพฯ เหมือนกัน ข้ารัฐการหนุ่ม ๒ นายนี้ ได้เคยรู้จักและสนทนาปราศรัยกัน ๓-๔ ครั้งแล้ว เมื่อพบกันวันนี้จึงต่างฝ่ายต่างตรงเข้าทักทายกัน และระหว่างที่ยืนไปด้วยกันในรถไฟ นายหมายก็เล่าเหตุการณ์เรื่องวัวของนางแย้มให้นายอำเภอฟังโดยตลอด เขาประหลาดใจมากเมื่อนายอำเภอบอกแก่เขาว่ายังไม่ทราบเรื่องนี้เลย อย่างไรก็ตาม จากการสนทนากันต่อไปโดยยืดยาว นายหมายก็รู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อเห็นว่านายอำเภอขัดเคืองเท่ากับตัวเขาเอง  ในเรื่องที่คนร้ายบังอาจเรียกค่าไถ่จากชาวบ้าน และชาวบ้านก็มีทีท่าจะสมยอมกับคนร้ายด้วย The next day was a Saturday. When Mr Mai reached the station, he happened to meet the district officer, who was on his way to Bangkok as well. These two young state servants had met before and talked a few times. Meeting today, each inquired about the other’s well-being and while they stood side by side in the train, Mr Mai related the story of Mrs Yaem’s cows disappearing in detail. He was very surprised when the district officer told him he had known nothing of this. In any case, in the long conversation that followed, Mr Mai felt better when he saw that the district officer was as angered as he was that bandits would demand a ransom from villagers and that the villagers would appear to be conniving with the bandits. =

=

Note the use of ข้ารัฐการ (state servant) rather than ข้าราชการ (government/public official, civil servant). 

ตอนบ่ายวันเดียวกันนี้ ทางพระนครมีสัญญาณภัยทางอากาศ ทำให้ขบวนรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงช้ากว่ากำหนดทุกสาย นายหมายมาถึงปลายทางเมื่อชาวบ้านจุดตะเกียงกันแล้ว แม้กระนั้นพอเรือถึงสะพานหน้าบ้าน นายหมายก็พบนางแย้มและเพื่อนชาวชนบท ๓-๔ คน ยืนคอยให้ข่าวเรื่องวัวแก่เขาด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นและยินดี In the afternoon of the same day, there was an anti-aircraft alert on the Bangkok lines which delayed all trains leaving the Hua Lamphong station. When Mr Mai reached his destination, the villagers had lit their candles. Nevertheless, as soon as the boat reached the footbridge in front of his house, Mr Mai met Mrs Yaem and three or four other country neighbours waiting to report the news to him with excited and happy voices.
“กลับมาแล้วค่ะ” นางแย้มบอก “แหม จะต้องรับขวัญกันใหญ่ โธ่ ไม่ได้เขามาก็เต็มที ปีหน้าต้องเลิกนาหมด แล้วก็ไม่รู้จะทำอะไรกินละ” ‘They’re all back!’ Mrs Yaem told him. ‘We must celebrate their recov- ery in a big way! Without them, I’d be done for, I’d have had to give up the rice field next year and I wouldn’t know what to do instead.’
นายหมายยังไม่ทันตอบ หญิงคนหนึ่งก็เอ่ยขึ้น “ตัวละร้อยก็ยังดีกว่าไปซื้อเขามาใหม่นี่คะ วัวใหญ่เดี๋ยวนี้ตัวละร้อยกว่าก็หาซื้อไม่ได้” Mr Mai had yet to answer when a woman chimed in, ‘A hundred per head’s better than buying new ones, you know. Big cows like those these days you won’t find even for well over a hundred.’
คนที่ ๓ รีบเล่าต่อไปว่า “เมื่อแรกเขาเรียกตั้ง ๗ ชั่งแน่ะค่ะ ต้องอ้อนวอนขอต่อกันเสียแย่ ดีแล้วสิ้นเคราะห์กันไปทีนะ พี่แย้มจะเสียแต่เพียง ๕ ชั่ง” A third woman hastily explained: ‘At first they asked for seven chang*, you know. We had to plead with them real bad. Fortunately, it’s all over. Yaem, she’ll only pay five chang.’ * Chang: old Thai monetary unit equal to 80 baht.
นายหมายนิ่งอั้น เห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะซักถามเนื้อความต่อไป เขาเพียงแต่พยักหน้าแล้วก็เดินขึ้นบนเรือน Mr Mai was dumb, seeing that there was no point asking anything further. He merely nodded and walked up to his house.
อย่างไรก็ตาม ในค่ำวันนั้นและวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ การโจษเรื่องวัวนางแย้มกลับมาเข้าคอกได้อย่างไรยังไม่สงบ นายหมายจึงได้ฟังรายละเอียดเรื่องนี้อีก ซึ่งทำให้เขาเดือดดาลยิ่งขึ้น For all that, that evening and the next day, which was a Sunday, comments about how it was Mrs Yaem’s cows were back in the stable were far from over. So Mr Mai listened to the details of the story again, which made him even more furious.
เนื้อความมีอยู่ว่า เมื่อฝ่ายเจ้าของวัวซึ่งมีอยู่ ๔ คนด้วยกัน ได้ตามรอยวัวไปจนสิ้นทางประมาณ ๗๐๐ เส้น ก็พบชายชาวตำบลเดียวกันแต่ต่างหมู่บ้าน ๒ คน เข้ามาทักถามแล้วชวนให้ไปที่บ้านของเขา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ที่เจ้าของวัวไปถึงมากนัก ครั้นไปถึงบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าของบ้านก็นำเหล้าและอาหารมาเลี้ยง ระหว่างการรับประทานนั่นเอง ฝ่ายเจ้าของบ้านก็พูดเป็นนัยว่า “ป่านนี้วัวน่าจะไปไกลแล้ว เวลานี้ก็สายมากแดดร้อนจัด เจ้าของวัวควรจะกลับไปบ้านนอนพักเสียคืนหนึ่งก่อน ต่อพรุ่งนี้เย็นจึงมาใหม่คงจะได้พบวัวเป็นแน่ เอาเงินติดมาซื้อเหล้าซื้อข้าวเลี้ยงกันสัก ๗ ชั่งด้วย” The gist of it was that, after following the trail over nearly three kilometres, the cow owner’s party, which numbered four by then, met two men of the same district but from another village who greeted them and invited them to their house which wasn’t far from where they stood. Once there, the house owners brought out booze and food to treat their guests. As they were having lunch, the house owners intimated, ‘By now the cows must be far away. It’s very late in the day and the sun is fierce. You should go back home and rest for a night first. Come back tomorrow afternoon and the cows will be here. Bring along seven chang of money to buy booze and food so we can have a feast.’
เจ้าของวัวประมาณกำลังของฝ่ายตนว่ามีแต่เพียง ๔ คน และต่างคนมีแต่อาวุธสั้น คือมีดดาบ และไม้ตะพด ส่วนกำลังทางฝ่ายเจ้าของบ้านนั่นซิ ตนไม่สามารถจะรู้ได้ว่ามีมากน้อยเพียงใด คิดดังนั้นแล้วจึงเอาใจดีต่อกล่าวปรับทุกข์ว่าตนกำลังขัดสน แล้วขอลดจำนวนเงินให้เหลือเพียง ๕ ชั่ง หลังจากที่ได้อ้อนวอนอยู่พักใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งก็ตกลง ฝ่ายเจ้าของวัวก็ลากลับมา The cow owner’s party assessed their own force to only four men armed only with knives or swords and walking sticks. As for the house owners’ force, they were unable to assess how many of them there were or how well armed. Thinking thus, they humoured their hosts, commiserating and pleading that they were hard-pressed, asked for the amount of money to be reduced to five chang. After pleading for quite some time, the other side relented and the cow owner’s party went back. .

.

.

.

.

I’ve added ‘or how well armed’ as a necessary consideration as important as or more so than the number of opponents.

รุ่งขึ้นนายเข้มไปยืมเงินได้จากจีนเจ้าของร้านค้าใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ในตลาดประจำตำบล และเป็นเจ้าของเรือบรรทุกข้าวที่เคยมารับซื้อข้าวเปลือกจากชาวชนบทนี้ทุกปี ตอนบ่ายนายเข้มพร้อมด้วยเพื่อนร่วมทาง ๓ คน ก็ไปยังบ้าน “คนกลาง” ได้รับการเลี้ยงดูจาก “คนกลาง” อีกครั้งหนึ่ง และมอบเงินให้คนกลางตามสัญญาไว้ พอบ่ายจัดตะวันใกล้จะลับขอบฟ้า ฝ่ายเจ้าของบ้านก็ชวนฝ่ายแขกลงจากเรือน บ่ายหน้าไปทางตะวันตกสักครู่ก็พบวัวยืนเล็มหญ้าอยู่บนคันนาด้วยกันทั้ง ๔ ตัว แล้วเจ้าของวัวกับเพื่อนก็ต้อนวัวของตนกลับที่อยู่ The next morning, Mr Khem went to borrow money from the Chinese owner of the biggest shop at the district market, who was also the owner of the rice barge which came to purchase rice grains from the country people every year. In the afternoon, Mr Khem and his three friends went to the house of the ‘go-betweens’ and were welcome and treated by them once again and gave them the money as agreed. In late afternoon as the sun was setting, the house owners invited their guests to leave the house. They headed west for a while and found the four cows grazing on a rice field dyke, and then the owner’s party led them back home.
เย็นวันจันทร์ นายหมายพบนายอำเภอที่สถานี เดินเล่นอยู่กับพวกหญิงชายชาวกรุงเทพฯ ซึ่งอพยพมาอยู่ในถิ่นใกล้ที่ว่าการอำเภอ พอเห็นนายหมายลงจากรถไฟ นายอำเภอก็ผละจากกลุ่มเพื่อนตรงเข้ามาหา ถามถึงเรื่องภัยทางอากาศ เมื่อได้รับคำตอบว่าไม่มีการทิ้งระเบิดแล้ว นายอำเภอก็เอ่ยขึ้นว่า “เรื่องวัวของคุณ ผมไปสอบสวนเจ้าของแล้ว เขาว่าไม่จริง” In late afternoon on Monday, Mr Mai met the district officer at the station walking about with Bangkok men and women who had taken refuge close to the district office. When he saw Mr Mai getting off the train, the district officer left his friends and came straight to him, asked him about danger from the air, and when he was told that there had been no bomb drops, the district officer said, ‘About that cow story of yours, I went to question the owners. They say it’s not true.’
“อึ! อะไรไม่จริง” ‘What! What isn’t true?’
“เขาว่าวัวของเขาหายจริง แต่พอรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งเขาก็ไปตามของเขากลับมาได้ มันกินหญ้าอยู่กลางทุ่ง นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร” ‘They said it’s true their cows disappeared, but next morning they went after them and brought them back. They were grazing in the fields, and that’s all there was to it.’
“อ๊อ แปลก” นายหมายอุทาน ยกมือขึ้นเกาศีรษะ ‘How very odd,’ Mr Mai exclaimed, raising his hand to scratch his head.
นายอำเภอหัวเราะห์น้อยๆ “แต่ผมบอกแล้ว ว่าเขาช่วยกันสนับสนุนการโจรกรรมให้เจริญ” เขาบอก “ขอโทษครับ เพื่อนเขาคอย วันหลังคุยกันใหม่” แล้วก็เดินห่างไปโดยเร็ว The district officer laughed a little. ‘As I told you, they help support the growth of banditry. Now, excuse me, will you: my friends are waiting. Let’s talk again some other time.’ Then he hurried away.
เมื่อนายหมายนั่งเรือมาใกล้จะถึงฝั่ง ในสมองยังเต็มไปด้วยข้อความที่นายอำเภอพูดดังได้กล่าวแล้ว นายหมายเป็นชาวพระนครแท้ๆ เขาถือว่ากรณีเรื่องไถ่วัวเป็นเรื่องสุดแสนจะทนทานได้ เรือใกล้จะถึงหน้าบ้าน เขาเห็นนางแย้มกำลังนั่งถูตัวอยู่บนสะพานหน้าบ้านนางเพิ่ม เขายังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะปราศรัยกับหญิงผู้นี้อย่างเคยหรือไม่ ก็เห็นแกเมินหน้าแล้วหันหลังให้ทางที่เรือจะผ่านในน้ำข้างสะพานที่นางแย้มนั่ง หญิงคนหนึ่งยืนวิดน้ำเรือ อีกสองคนยืนล้างผักบุ้งและล้างหม้อแกง ทั้ง ๓ มีอาการเหมือนกำลังคุยกันอย่างมีรสเผ็ดร้อน แต่นิ่งเงียบลงพร้อมกัน เมื่อเห็นนายหมายอยู่ในเรือ นายหมายกล่าวทักว่า “ทำอะไรกัน” ก็ได้รับคำตอบอย่างไม่เต็มปากว่า “เปล่าค่ะ” แกมเสียงหัวเราะอย่างเฝื่อนพร้อมกับที่ทั้ง ๓ ต่างเหลือบตามองดูกัน In the boat crossing over, Mr Mai’s head was still full of what the district officer had told him. As a true Bangkok denizen, Mr Mai held that ransoming cows was something he couldn’t countenance in the least. The boat had almost reached his house. He saw Mrs Yaem who sat soaping herself on the footbridge in front of Mrs Pherm’s house. He still couldn’t decide whether he would greet that woman as he used to or not when he saw her look away and turn her back to the way the boat would float past the footbridge where she sat. A woman stood bailing out her boat. Another stood washing water spinach and a third scrubbing a pot. All three behaved as if they were engaged in a juicy chat but fell silent all at once when they saw Mr Mai in the boat. Mr Mai greeted them with ‘What are you doing?’ and was given the reluctant answer, ‘Nothing,’ with a queer laugh as all three exchanged furtive glances. The sentence is rewritten for clarity: they can’t be both washing water spinach and scrubbing pots at the same time.
ความสนเท่ห์ของนายหมายสิ้นสุดลงเมื่อเขามาถึงที่อยู่ พอก้าวขาขึ้นบันได สมจิตก็กล่าวแก่เขาด้วยเสียงอันขุ่นแสดงความพื้นเสียถึงขีดสุด “เอ้า มาแล้ว เอาอะไรไปฟ้องนายอำเภอ พวกนี้เขาโกรธกันจะตาย” Mr Mai’s puzzlement came to an end when he went into his house. As he went up the stairs, Somjit said to him in a murky voice denoting utmost bad temper, ‘Oh, there you are! What tales did you tell the district officer? People here are boiling mad.’
โดยไม่พักให้สามีได้โต้ตอบ หล่อนตะโกนต่อไปทันที โดยไม่พักให้สามีได้โต้ตอบ หล่อนตะโกนต่อไปทันที “ลุงคล้อย ออกมาซี ออกมาต่อว่าต่อขานกันให้พอ” หันกลับมาทางสามีอีก “มานั่งเล่าๆ กัน ๓ พัก ๔ พักแล้ว ก็ฉันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วยสักหน่อย ลุงคล้อย แม่เพิ่ม นี่คุณสมมาแล้ว-” Without waiting for Mr Mai’s answer, she shouted out at once, ‘Uncle Khloi, come over! Come and thrash it out together at will.’ And turning to her husband: ‘They came and berated me here three times, four times, but it’s got nothing to do with me … Uncle Khloi! Mother Pherm! My husband’s here…’
นายหมายโยนหมวกและห่อบุหรี่ที่เขาซื้อมาจากกรุงเทพฯ ลงบนระเบียงแล้วเดินโดยปกติไปที่ครัว เขาเป็นผู้ที่ทำอารมณ์ให้เยือกเย็นได้เสมอ ในเมื่อมีเรื่องร้อนเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เห็นนายคล้าย นางเพิ่มและพี่สาวคือภรรยานายคล้อยนั่งมองดูหน้ากันอยู่ก็ยิ้มแล้วว่า “ใครโกรธใครเรื่องอะไร ออกมาพูดกันให้มันรู้มั่งซี อะไรน่ะ ทำท่ายังกะมีเรื่องคอขาดบาดตาย นายคล้อยออกมาสูบบุหรี่กันข้างนอกนี่เถอะ” Mr Mai threw his hat and the packet of cigarettes he had bought in Bangkok on the floor of the porch and walked normally to the kitchen. He was someone who always forced himself to remain cool whenever something vexatious happened. He saw Mr Khloi, Mrs Pherm and her elder sister, Mr Khloi’s wife, who sat staring at one another, so he smiled and said, ‘Let whoever is angry about whatever come out and talk it over. What’s this? Making faces as if there have been fatalities. Let’s go out for a smoke, Mr Khloi.’
เขากลับหลังมานั่งห้อยเท้าบนระเบียง เรียกซ้ำอีก ๒-๓ คำ นายคล้อยจึงตามออกมาอย่างไม่สู้วางใจนัก นั่งลงที่ริมนอกชาน หลังพิงโอ่งแล้วนางเพิ่มกับพี่สาวก็ตามออกมาด้วย หญิงทั้งสองมีความติดใจที่จะพูดและฟังอยู่ไม่น้อย ทั้งสองสำรวมกิริยาผิดกว่าที่เคย ทั้งนี้เพราะเสียงของนางสมจิตทำให้รู้สึกกลัว   He turned his back and went to sit on the porch with his feet hanging out, called out again in a few words. Mr Khloi joined him reluctantly, sat down at the edge of the platform, his back against the jar, and then Mrs Pherm and her sister came out also. The two women were quite eager to speak and listen, yet both were more composed than usual, as Mrs Somjit’s tone of voice made them afraid.
“นายอำเภอเขามาสอบสวนเรื่องวัวหรือ” นายหมายถามขึ้นก่อน ‘So the district officer came to investigate the disappearance of the cows, did he,’ Mr Mai asked first.
“เขามา” นายคล้อยตอบช้าๆ เนิบๆ อย่างระวัง แล้วเขาก็หยุดไว้เพียงแค่นั้น ‘Yes he did,’ Mr Khloi answered slowly, ponderously, cautiously, and then left it at that.
“แล้วยังไงล่ะ” ‘And then what?’
“ก็ไม่เห็นมีอะไรนี่ ไอ้วัวก็ได้มาแล้ว-” ‘Well, nothing, really. The cows are back…’
นายหมายรอฟังอย่างใจเย็น นายคล้อยก็ยังไม่พูดต่อ แต่ภรรยานายคล้อยเป็นหญิงใจร้อนและปากไว จึงเอ่ยขึ้น “ท่านมาด่าว่า ชาวบ้านนี้น่ะอุดหนุนโจรแน่ะ พี่แย้มแกร้องไห้ แกว่าของแกก็เสีย ใจร้อน กลืนข้าวกลืนน้ำไม่ลง ยังมาหาว่าเป็นใจกับขโมย” Mr Mai waited coolly for more. Mr Khloi still didn’t speak, but his wife was an impulsive and quick-tongued woman, so she said, ‘He came and accused us here of supporting the bandits. Yaem was crying. She said it was a great loss for her, she worried, she couldn’t eat or sleep. How could he claim we were the thieves’ accomplices?’
“แล้วก็เลยพากันโกรธฉันว่าไปฟ้องนายอำเภองั้นหรือ” นายหมายถาม ‘So you’re angry at me for telling the district officer, is that it,’ Mr Mai asked.
คราวนี้นายคล้อยกลับเป็นผู้แย่งภรรยาพูด“ไอ้โกรธน่ะเขาไม่ได้โกรธหรอก แต่ว่า-” นิ่งคิดอยู่นาน “…เขาว่าเขาเสียใจ ไม่พอที่เลย ให้นายอำเภอมาด่า ท่านด่าแล้วก็ขึ้นพวกไอ้ชาวบ้านนี้” นายคล้อยเน้นเสียงแสดงว่าเริ่มจะเป็นทาสแห่งอารมณ์โกรธ “เราไม่เคยลักใครขโมยใคร นี่มาหาว่าเราอุดหนุนโจร” This time Mr Khloi pushed in ahead of his wife. ‘Angry? I wouldn’t say angry, but…’ He searched for words for a long moment. ‘…unhappy. That’s not all. The district officer came to insult us, he blamed us and then it had to do with people in this house.’ Mr Khloi’s raised tone showed that his angry mood was getting the better of him. ‘We’ve never stolen anything from anyone. How can he come and claim we support bandits?’ Here, an interesting colloquial variation in the use of เขา (he, they) instead of ‘us’ or ‘I’ to mark less polite distance than utter indignation.
ต่อจากนั้นนางเพิ่ม พี่สาวนางเพิ่ม และนายคล้อยก็ผลัดกันระบายความคิดความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดตามอารมณ์ของเขา นายหมายสะกดใจฟังอยู่เงียบๆ ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง เขากำลังวิเคราะห์ความเขลาของมนุษย์รวมทั้งตัวเขาเองด้วย From then on Mrs Pherm, her sister and Mr Khloi took turns airing their views and feelings, in words their moods dictated. Mr Mai forced himself to listen quietly, hearing some, deaf to the rest. He was pondering human foolishness, his included.
ตอนกลางคืนเมื่อรับประทานอาหารอิ่มดีแล้วทั้งครอบครัว นายหมายสังเกตเห็นภรรยาฟื้นดีเป็นปกติก็เอ่ยปากขอผ้าถุงดำ ๑ ผืน กับเสื้อชั้นนอก ๑ ตัว หลังจากที่ได้อ้อนวอนอยู่นาน โดยยกเหตุผลหลายอย่างมาประกอบ สมจิตก็ตกลงลุกขึ้นไปหยิบของ ๒ สิ่งนั้นมาให้ นายหมายได้ของแล้วก็จุดเทียนไขลงเรือไปที่บ้านนางแย้ม At night, when the whole family was satiated after dinner, Mr Mai noticed that his wife was in her usual good mood, so he asked her for a black tube skirt and a shirt. After prevaricating for a long while by raising many objections, Somjit consented to get up and fetch those two items for him. Mr Mai took them and then lit a tallow candle and rowed to Mrs Yaem’s house.
เขาส่งผ้าถุงและเสื้อให้หญิงเจ้าของบ้านพร้อมกับพูดว่า “อย่านึกยังงั้นยังงี้เลย ถือว่าฉันเหมือนกับลูกหลานก็แล้วกัน” He gave the tube skirt and shirt to the lady of the house, saying, ‘Don’t think much of it, will you, just that I’m part of the family.’
นางแย้มรับของมาวางไว้ข้างตัว ยกมือไหว้ แล้วก็ร้องไห้ ไม่ออกปากว่ากระไรทั้งสิ้น นายหมายเห็นเช่นนั้นก็หันไปทางนายเข้ม เอ่ยเล่าเรื่องการบอมบ์ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเขาได้อ่านจากใบปลิวที่สหประชาชาติทิ้งจากเครื่องบินเมื่อวันเสาร์   Mrs Yaem took the clothes and put them down beside her, raised her hands and bowed, and then cried without uttering a word. Seeing this, Mr Mai turned to Mr Khem and told him about the bombing of Japan which he had read about in a leaflet an Allied aeroplane had dropped on Saturday.
ถึงเวลานอน นายหมายอยู่ในมุ้งจวนจะหลับอยู่แล้ว ได้ยินเสียงสมจิตบ่นกับนางอุ่นว่า When it was time for bed, Mr Mai was under the mosquito net on the verge of sleep when he heard Somjit’s voice complaining to Mrs Un.
“เจ้ากี้เจ้าการดีนัก เสียของไม่เข้าเรื่อง ผ้าดำถุงหนึ่งสมัยนี้ตั้ง ๖๐-๗๐ ยังซื้อไม่ค่อยได้ เสื้อตัวหนึ่งตั้งครึ่งร้อยค่อนร้อย อ้ายเราหรือกระเหม็ดกระแหม่ทุกสตางค์” ‘Such a meddler! Giving things away mindlessly. A black skirt these days you’d be hard put to find one for sixty or seventy, and a shirt for fifty going to a hundred. When we are trying to save every satang!’
นายหมายรีบพลิกตะแคง ดึงหมอนขึ้นทับศีรษะปิดหูแล้วรีบหลับตาโดยเร็ว Mr Mai hastily turned on his side, pulled up the pillow against his head to cover his ear and hurriedly shut his eyes. รีบหลับตาโดยเร็ว
(พิมพ์ครั้งแรกในเอกชน พ.ศ. ๒๔๙๐)  ‘Phonlamueang Dee’, first printed in Eikachon, 1947
Dorkmai Sot (‘Fresh Flower’)
was the pen name
of ML Buppha Kunjara (1905–1963),
a seminal writer of Thai romance
mixing humour and Buddhist precepts.
.